รู้จัก “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ประเทศไทย) หรือ FEED

ก้าวแรกสู่ “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ประเทศไทย) หรือ FEED

กว่า 15 ปี ที่ WWF ประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา และคิดค้นต้นแบบศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และการดำเนินงาน ที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย WWF GMPO (World Wide Fund for Nature Greater Mekong Program Office) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรความ หลากหลายทางชีวภาพที่เอื้อประโยชน์ ทั้งต่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ได้อย่างสมดุลในการที่จะนำไปสู่หลักการบริหาร จัดการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development )จึงได้ผลักดันการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อันจะส่งผลขยายงานในระดับกว้างไปยังพื้นที่อื่นทั้งนี้ ทีมงานสิ่งแวดล้อมศึกษา WWF ประเทศไทยได้ดำเนินการรวมศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ทั้ง 3 ศูนย์ฯ ในขณะนั้น และยื่นขอจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย)” หรือFoundation for Environmental Education for Sustainable Development (Thailand) : FEED ขึ้น โดยได้รับรอง การขึ้นทะเบียนเป็นมูลนิธิจากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2554 และได้รับการขึ้นทะเบียนเลขที่ 4/2555เป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2555

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. เพื่อจัดตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
3. เพื่อส่งเสริมงานการศึกษาการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึง
การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหัตถกรรมอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และกิจกรรมการท่องเที่ยว
เชิงนิเวศที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ดำเนินการใดๆ ในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
7. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศลและองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์

วิสัยทัศน์ (VISION)

เป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์และพฤติกรรมของบุคคลและ สังคม ผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“Leadership in the conservation of the environment and natural resources, by promoting the process of Environmental Education for Sustainable Development ”

 

ภารกิจ (MISSION)

ให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับเยาวชนและบุคคลทั่วไปในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการ สิ่งแวดล้อมศึกษา ส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยวิถี ชีวิตที่พอเพียง ส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและสร้างเครือข่ายพันธมิตรสิ่งแวดล้อมศึกษา บูรณาการความรู้ด้านการอนุรักษ์ในแต่ละศาสตร์ ให้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถชี้วัดได้

การดำเนินงานของมูลนิธิ

มูลนิธิฯ มีการดำเนินงานนโยบายและการดำเนินงานอิสระจาก WWF มุ่งสร้างอนาคตที่เข้มแข็งเพื่อให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกัน อย่างสมดุลบนโลกใบนี้ โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาและการบูรณาการสาระการเรียนรู้ด้วยธรรมชาติโดยหวังว่าเยาวชน คนรุ่นใหม่จะมีความตระหนัก ความคิด ทัศนคติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อดูแลรักษา และหวงแหนธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ตลอดจนการบริโภคและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและคุ้มค่า ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนงานหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. บริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จัดทำนโยบาย กำกับดูแลศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จัดทำหลักสูตรและกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพื่อสร้างเยาวชนที่รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่น หลักสูตรสิ่งแวดล้อม ศึกษา ค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ค่ายเรียนรู้พลังงานและภาวะโลกร้อน และค่ายบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นต้น โดยปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนผ่านหลักสูตรและกระบวนการดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 30,000 คนจากศูนย์ศึกษา ธรรมชาติ ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ มุ่งหวังที่จะขยายศูนย์ศึกษาธรรมชาติไปยังภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่อครอบคลุมทั่วประเทศ ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันมูลนิธิฯ ดำเนินการบริหารจัดการ 2 ศูนย์ศึกษาฯ ได้แก่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิม พระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ และ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร จังหวัดปทุมธานี
2. ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กิจกรรมลดภาวะโลกร้อน การอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่สำคัญและใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงการ ป้องกันและรับมือภัยพิบัติต่างๆ
3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเกิดความร่วมมือในการจัดทำกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาตั้งแต่ ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ
4. ประสานความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรม CSR ของภาคธุรกิจเอกชนให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในกลุ่มเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และชุมชน

ก่อนมาเป็น “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย)”

WWF เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยการสนับสนุนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2536
ได้ตั้งสำนักงานกลางขึ้นในประเทศไทยที่ จ.ปทุมธานี และดำเนินโครงการอันเกื้อกูลประโยชน์แก่ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมทั่วประเทศ
นับแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.2548 ได้รวมกับประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ขึ้นภายใต้ชื่อWWF Greater Mekong
Programme Office

WWF มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์อนุรักษ์สภาพแวดล้อมของโลก และได้ประกาศให้พื้นที่ 200 แห่ง (The Global 200: Key
Ecoregions for Saving Life on Earth) ซึ่งเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพของโลกเป็นพื้นที่ที่ต้องปกป้องรักษาไว้
อย่างเร่งด่วนเพื่อคนรุ่นหลัง ในประเทศไทย WWF ได้ให้ความสำคัญกับผืนป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร หัวใจของผืนป่าเทือกเขา
ถนนธงชัยและตะนาวศรีหรือผืนป่าตะวันตก ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของ Global 200 ในปี พ.ศ.2541- 2543 WWF ได้นำกระบวนการ
สิ่งแวดล้อมศึกษามาใช้เป็นแนวทางอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตกให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
กรมป่าไม้ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ “โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาห้วยแม่ดีเพื่ออนุรักษ์ป่าตะวันตก จ.อุทัยธานี” โดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพผืนป่าตะวันตกและส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบผืนป่ามีการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
การพัฒนาทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาให้กับบุคลากรหลักต่อมาในปี พ.ศ. 2544ได้สานต่อโครงการเพื่อครอบคลุมทั่วประเทศโดยมี
กระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลางในการดำเนินงานภายใต้ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน (SEET)”