ประกันสะสมทรัพย์ กุญแจสู่ความมั่นคงมั่งคั่งในอนาคต

ประกันสะสมทรัพย์ กุญแจสู่ความมั่นคงมั่งคั่งในอนาคต

การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบและเหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญสู่ความมั่นคงและมั่งคั่งในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การทำประกันสะสมทรัพย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนเลือกเพื่อให้มีหลักประกันชีวิตในอนาคต บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับประกันประเภทนี้ให้มากขึ้น ทั้งประเภทประกัน ผลตอบแทนที่จะได้จากแผนประกัน พร้อมเคล็ดลับในการเลือกประกันสะสมทรัพย์ที่เหมาะสมกับคุณ

ประกันสะสมทรัพย์ คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? และดีอย่างไร ?

ประกันสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่มีควบคู่ไปกับการสร้างเงินออมเพื่อความมั่งคงให้กับชีวิตในอนาคต ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยฯ สะสมไปเรื่อย ๆ เพื่อเก็บให้เป็นเงินก้อนใหญ่ โดยสามารถรับผลประโยชน์เงินคืนได้แบบรายปี หรือรับเงินคืนตามปีที่แบบประกันกำหนด รวมถึงรับเงินก้อนคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา ทั้งนี้ประกันสะสมทรัพย์จะได้รับการคุ้มครองชีวิตไปพร้อม ๆ กันด้วย

ประเภทของประกันสะสมทรัพย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
  1. ประกันสะสมทรัพย์แบบระยะยาว
    มีระยะเวลาสัญญาในการมอบความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันภัยทุกปีแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วยให้สะสมเงินได้ในระยะยาว ให้ผลตอบแทนและความคุ้มครองชีวิตค่อนข้างสูง
     
  2. ประกันสะสมทรัพย์แบบระยะสั้น
    มีระยะเวลาสัญญาในการมอบความคุ้มครองอยู่ที่ 10 ปี โดยผู้เอาประกันจะสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมดในงวดเดียวเมื่อเริ่มทำสัญญา หรือแบ่งจ่ายเป็นระยะก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนของแบบประกัน โดยประกันสะสมทรัพย์ประเภทนี้ มีเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ไม่สูงมาก ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญาในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ทำให้สามารถนำเงินคืนที่ได้ไปใช้จ่าย หรือต่อยอดในการลงทุนได้อีก

    ข้อแนะนำในการดูตัวเลขของแบบประกัน:
    ในชื่อของประกันสะสมทรัพย์ เช่น 10/1, 10/2 หรือ 10/5 เลขตัวหน้า หมายถึง ระยะเวลาในการคุ้มครอง และเลขตัวหลัง หมายถึง ระยะเวลาหรือจำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย
     
ประกันสะสมทรัพย์ดีอย่างไร ? สามารถสรุปในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
  1. การออมเงิน ประกันสะสมทรัพย์ช่วยให้คุณสามารถออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอ เพราะเบี้ยฯ ที่จ่ายไปจะถูกนำไปลงทุน สะสมและคืนกลับมาเป็นผลตอบแทน
  2. การสร้างความมั่นคงทางการเงิน ประกันสะสมทรัพย์ช่วยให้คุณมีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต หรือไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
  3. การลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ จึงช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
  4. ความคุ้มครองชีวิต แผนประกันส่วนใหญ่จะมีเงินทุนสำหรับการคุ้มครองชีวิตด้วย ดังนั้นกรณีเสียชีวิตระหว่างสัญญา ผู้รับประโยชน์ก็จะได้รับเงินชดเชย
     

ประกันสะสมทรัพย์กรุงเทพประกันชีวิต คิดมาเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการ

กรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) เข้าใจไลฟ์สไตล์และความต้องการที่แตกต่างในด้านการวางแผนการเงินของคุณ จึงขอแนะนำ 2 แบบประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น ที่มอบความคุ้มครองชีวิตนาน 10 ปี มีระยะเวลาการมอบผลประโยชน์เงินคืนที่แตกต่างกัน ที่คุณสามารถเลือกได้ตามเป้าหมายการออมที่ต้องการ
  1. ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/2
    • จ่ายเบี้ยฯ สั้น 2 ปี รับเงินคืนทุกปี
    • อายุที่รับประกันภัย 20 - 70 ปี
    • เบี้ยประกันภัยรายปี เริ่มต้นปีละ 30,000 บาท
    • ปีที่ 1 - 9 รับเงินคืนปีละ 2%* ครบกำหนดสัญญารับ 208%*
    • ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 226%*
    • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
  2. ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5
    • จ่ายเบี้ยฯ สั้น 5 ปี รับเงินคืนก้อนใหญ่ คืนเงินไวตั้งแต่ปีที่ 5
    • อายุที่รับประกันภัย 20 - 80 ปี
    • เบี้ยประกันภัยรายปี เริ่มต้นปีละ 20,000 บาท
    • ปีที่ 5 - 6 รับเงินคืน 10%*
      ปีที่ 7 - 9 รับเงินคืน 100%*
      ปีที่ 10 รับเงินคืน 205%*
    • ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 525%*
    • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
      (*%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)

ประกันสะสมทรัพย์ทั้ง 2 แบบ ประกัน 10/2 และประกัน 10/5 จะมีระยะเวลาการมอบผลประโยชน์เงินคืนที่ต่างกัน หากคุณต้องการผลประโยชน์เงินคืนที่สม่ำเสมอในทุก ๆ ปี แนะนำแบบประกันบีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/2 หรือหากต้องการรับเงินคืนก้อนใหญ่ เพื่อนำไปใช้จ่ายหรือต่อยอดในการลงทุน แบบประกัน บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5 ช่วยตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้

เคล็ดลับเลือกประกันสะสมทรัพย์ที่ใช่

การเลือกประกันสะสมทรัพย์ให้ตอบโจทย์กับการวางแผนทางการเงินนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อผลตอบแทนและความคุ้มค่าที่จะได้รับในระยะยาว การพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนี้
  1. ระยะเวลาการลงทุน
    ระยะเวลาในการลงทุนเป็นปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าควรเลือกกรมธรรม์ประกันที่มีอายุสัญญานานเท่าไร จึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน
  2. ความสามารถในการชำระเบี้ย
    ควรเลือกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์การใช้เงิน ความสามารถในการหารายได้ ตลอดจนเป้าหมายการออมเงิน ว่าซื้อประกันสะสมทรัพย์ไว้เพื่ออะไร เพราะบางแบบประกันต้องชำระเบี้ยฯ ต่อเนื่องในทุก ๆ ปี
  3. ด้านความคุ้มครอง
    ต้องพิจารณาว่าคุณต้องการความคุ้มครองมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าจากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป
    • ต้องการความคุ้มครองสูง
      เช่น มีภาระค่อนข้างมากและต้องเป็นเสาหลักให้กับครอบครัว ควรเลือกกรมธรรม์ที่มอบผลประโยชน์ที่สูง เผื่อกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ เพื่อคนในครอบครัวจะได้รับเงินก้อนไว้ใช้
    • ต้องการความคุ้มครองพื้นฐาน
      และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออมเงินสำหรับอนาคต แนะนำให้เลือกกรมธรรม์ที่เน้นไปที่เรื่องของการให้ผลประโยชน์เงินคืนที่สูงหรือสม่ำเสมอ รวมทั้งมีเงินปันผลระหว่างสัญญา
  4. ด้านผลตอบแทน
    หลังจากแน่ใจแล้วว่ามีเป้าหมายและต้องการความคุ้มครองระดับไหน ต่อจากนั้นคุณควรเปรียบเทียบผลตอบแทนแต่ละแผนแบบประกัน เพื่อดูให้ละเอียดว่าแผนไหนที่ตรงกับความต้องการ และควรศึกษาเงื่อนไขและผลประโยชน์อย่างละเอียด

​วางแผนสะสมความมั่นคง มั่งคั่ง เลือกประกัน 10/2 และประกัน 10/5

สำหรับใครที่ต้องการสร้างเงินออมเพื่ออนาคต ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น นับว่าเป็นแบบประกันที่มอบสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยสะสมทรัพย์ ให้คุณได้รับผลประโยชน์เงินคืน พร้อมมอบความคุ้มครองชีวิตนานถึง 10 ปี รวมถึงใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ยิ่งถ้าเริ่มลงทุนเร็วเท่าไร จะยิ่งช่วยให้สะสมเงินได้มาก และมีกำลังส่งค่าเบี้ยฯ แบบไม่เป็นภาระหนักจนเกินไป

ดังนั้นหากท่านใดสนใจซื้อประกันสะสมทรัพย์ กรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) มีแผนประกันให้คุณเลือกหลากหลายแผน หากคุณต้องการปรึกษาเพื่อรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียด กดคำนวณเบี้ย และซื้อออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง ที่เว็บไซต์ https://www.bangkoklife.com/online/th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-777-8888 ตลอด 24 ชั่วโมง

โปรดทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้น ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัย ทั้งนี้ เงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้นอย่างสมบูรณ์จะระบุในกรมธรรม์

อ้างอิง : SET