3 ข้อควรรู้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อประกัน
การวางแผนการเงินที่ดีไม่เพียงช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางภาษีของแต่ละบุคคลได้ด้วย ซึ่งหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพก็คือการซื้อประกันเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี บทความนี้ขอพาไปสำรวจเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนขั้นตอนในการดำเนินการลดหย่อนภาษี เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการเงินและลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1. ประกันชีวิต ประกันลดหย่อนภาษี
- ประกันชีวิตทั่วไป
ประกันที่มอบความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้เอาประกัน ในกรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต บริษัทประกันจะจ่ายเงินตามที่ระบุในสัญญาให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งประกันชีวิตแบบทั่วไปที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1.1) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) เน้นคุ้มครองชีวิตในระยะยาว ซึ่งจ่ายเบี้ยฯ เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น (เช่น 10 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกัน) โดยเบี้ยประกันไม่สูงมาก คงที่ตลอดสัญญา และผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองไปตลอดชีวิต
1.2) ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) เน้นความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถเลือกระยะเวลาความคุ้มครองที่ตรงกับความต้องการได้อย่างเหมาะสม หากครบกำหนดสัญญาคุ้มครอง แล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ ก็จะไม่ได้รับทุนประกันคืน
1.3) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) ประกันชีวิตที่เน้นเรื่องการออมเงินควบคู่ไปด้วย โดยจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ซึ่งจะมากกว่าเบี้ยประกันชีวิตที่เราจ่ายไป พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วย และยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตทั่วไป ข้อ 1.1) – 1.3) : สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง หากมีประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็จะลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
1.4) ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Linked Life Insurance) ให้ความคุ้มครองชีวิต และให้โอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งเบี้ยประกันจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) ส่วนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน (2) ส่วนความคุ้มครอง และ (3) ส่วนที่นำไปลงทุน
โดยส่วนที่ (1) และ (2) เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปอื่น ๆ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท สำหรับส่วนที่ (3) ที่นำไปลงทุนจะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
เงื่อนไขการใช้ประกันชีวิตแบบทั่วไปลดหย่อนภาษี :
- ต้องเป็นประกันชีวิตโดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น
- มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- กรณีที่ประกันมีการจ่ายเงินคืนทุกปี จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือหากเป็นการจ่ายเงินคืนตามช่วงเวลา จำนวนเงินต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
- หากมีการเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิประกันลดหย่อนภาษีของกรมธรรม์ฉบับนั้นได้อีก พร้อมคืนภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องจ่าย
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตควบคู่การออมเงินคล้ายประกันสะสมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของเงินบำนาญ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความคุ้มครองของแต่ละแบบประกัน) ประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปลดหย่อนในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาทได้ และลดหย่อนภาษีในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญได้อีกสูงสุด 200,000 บาท รวมเป็น 300,000 บาท
- ผู้ยื่นขอลดหย่อนภาษีต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และจ่ายเบี้ยประกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงเหมาะสำหรับการวางแผนรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในระยะยาว
- ประกันสุขภาพ
นอกเหนือจากประกันชีวิตแบบทั่วไป กับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว ประกันสุขภาพก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ตามรายละเอียดดังนี้
- ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ
- ประกันภัยอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุ ได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย รวมถึงการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ การแตกหักของกระดูก
- ประกันภัยโรคร้ายแรง ประกันที่ให้ความคุ้มครองเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับเนื้องอก โรคที่เกี่ยวกับหัวใจหรือหลอดเลือด
- ประกันภัยการดูแลระยะยาว ประกันที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างน้อย 3 ใน 5 อย่างได้ด้วยตนเอง (การเปลี่ยนจากนอนไปนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำชำระร่างกาย การรับประทานอาหาร) โดยต้องเป็นต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วัน
สิทธิลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพ:
ประกันสุขภาพส่วนบุคคล: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี
- สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- ต้องเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้เอาประกันเท่านั้น
ประกันสุขภาพบิดามารดา: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี และสามารถแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ร่วมกับพี่น้องได้ โดยจะลดหย่อนได้สูงสุดตามยอดเงินที่หารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้อง
- บิดามารดาของผู้เอาประกันต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ผู้เอาประกันเองหรือบิดาหรือมารดา ต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทย 180 วันในปีที่ต้องนำไปลดหย่อนภาษี
2. ประกันลดหย่อนภาษี กรุงเทพประกันชีวิต คุ้มครองจบ จ่ายภาษีน้อยลง
กรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) มีประกันหลากหลายแผนที่นอกจากจะให้สิทธิประโยชน์ในการนำไปลดหย่อนภาษีแล้ว ยังมาพร้อมความคุ้มครองที่คุ้มค่าอย่างการมอบผลประโยชน์เงินคืน วันนี้เราได้รวบรวมประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจไว้ให้คุณแล้ว
- ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5
- ประกันลดหย่อนภาษีที่มอบความคุ้มครองชีวิต 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยฯ 5 ปี พร้อมรับเงินคืนได้ตั้งแต่ปีที่ 5 ของวันครบรอบปีกรมธรรม์
- คุ้มค่า รับเงินคืนก้อนใหญ่ ปีที่ 7-9 รับคืน 100%* ปีที่ 10 รับคืน 205%*
- มอบผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 525%* (*% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/1
- ประกันสะสมทรัพย์ที่มอบความคุ้มครองชีวิต 10 ปี ชำระเบี้ยประกันครั้งเดียวจบ พร้อมรับเงินคืนทุกปี ปีละ 1.75%*
- ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 117.5%* (*% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/2
- ประกันสะสมทรัพย์ที่มอบความคุ้มครองชีวิต 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยสั้น 2 ปี พร้อมรับเงินคืนทุกปี ปีละ 2%*
- ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 226%* (*% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 15/10
- ประกันสะสมทรัพย์ที่มอบความคุ้มครองชีวิต 15 ปี พร้อมรับเงินคืนทุกปี ปีละ 2%*
- ครบกำหนดสัญญา รับเงินคืน 208%* พร้อมความคุ้มครองชีวิตสูงสุด 130%* (*% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
- เลือกจ่ายเบี้ยฯ รายเดือน หรือรายปี ช่วยให้วางแผนการเงินที่เหมาะกับคุณได้
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันบำนาญ แฮปปี้ เพนชั่น (มีเงินปันผล)
- ประกันเพื่อการเกษียณสบายใจ ที่คุณสามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยได้เอง คือ ชำระครั้งเดียวจบ/แบ่งชำระ 5 ปี/ 10 ปี หรือจนถึงอายุ 60 ปี
- อุ่นใจในอนาคต การันตีรับเงินบำนาญทุกปี ตั้งแต่อายุ 60-99 ปี
- มีโอกาสรับเงินบำนาญเพิ่มพิเศษตลอดสัญญา**
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันสุขภาพ บีแอลเอ คอมพลีท เฮลธ์
- มอบความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อแอดมิท สูงสุดถึง 5 ล้านบาทต่อครั้ง 1 ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี
- ทุกแผนคุ้มครองชีวิต 50,000 บาท และคุ้มครอง 20 โรคร้ายแรง 100,000 บาท
- ครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล 1
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อรวมเบี้ยประกันภัยตามที่จ่ายจริงทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
1 สำหรับแผนความคุ้มครอง 3
- ประกันโรคร้ายแรง สุขภาพ สุขสันต์ (ออนไลน์)
- ประกันสุขภาพที่มอบความคุ้มครองมะเร็ง และโรคร้ายแรงอื่น ๆ รวม 50 โรคร้ายแรง รับผลประโยชน์ทันทีสูงสุด 3 ล้านบาท
- รับเงินก้อนใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และเงินสำรองการดำรงชีวิต ทันทีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
- เบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดอายุสัญญา ไม่ปรับเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อรวมเบี้ยประกันภัยตามที่จ่ายจริงทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
- ประกันอุบัติเหตุ พีเอ อุ่นใจรัก (ออนไลน์)
- คุ้มครองอุบัติเหตุตลอดทั้งปี คุ้มครองทุกที่ ตลอด 24 ชม. เบี้ยฯ รายปี จ่ายครั้งเดียวจบ รับประกันภัยชั้นอาชีพ 1 และ 2
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี รวมถึงคุ้มครองกรณีกระดูก แตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการบาดเจ็บอวัยวะภายใน
- ชดเชยรายได้กรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้: ลดหย่อนภาษีได้ตามชั้นอาชีพ สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อรวมเบี้ยประกันภัยตามที่จ่ายจริงทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
3. ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นในการลดหย่อนภาษี มีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการลดหย่อนภาษี
- รวบรวมข้อมูลรายได้ทั้งหมดในปีภาษีนั้น
ก่อนอื่นเพื่อให้เห็นภาพรวมของรายได้ คุณต้องลิสต์แหล่งรายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือนประจำ โบนัส หรือรายได้พิเศษอื่น ๆ ออกมา จากนั้นให้ตรวจสอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้างทุกที่ที่เราทำงานในปีนั้นว่าข้อมูลที่ได้มาถูกต้องหรือไม่
- รวบรวมหลักฐานค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและความละเอียดรอบคอบ เพราะต้องค้นหาและจัดระเบียบใบเสร็จรับเงินทุกรายการที่เข้าข่ายการลดหย่อนภาษีได้ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันทุกประเภท โดยอาจแยกหมวดหมู่ตามประเภทการประกัน เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันบำนาญ เป็นต้น
- กรอกแบบฟอร์มภาษี
เมื่อมีข้อมูลครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกรอกแบบฟอร์มภาษี ซึ่งจะกรอกฟอร์มไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ นั่นคือ หากเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมีรายได้จากการจ้างแรงงาน ให้เลือกกรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 แต่หากคุณเป็นผู้มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือจากการลงทุน ให้เลือกกรอกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 และสิ่งสำคัญคือต้องกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งข้อมูลส่วนตัว รายได้ และรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมด
- แนบเอกสารหลักฐานประกอบการลดหย่อนภาษี
เรื่องของหลักฐานประกอบก็สำคัญ แนะนำว่าให้จัดเตรียมสำเนาเอกสาร และเรียงลำดับให้ตรงกับรายการในแบบฟอร์ม พร้อมกับลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในทุกฉบับด้วย จะช่วยให้เตรียมเอกสารได้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
- เลือกช่องทางการยื่นแบบลดหย่อนภาษี
รวมรวบเอกสารเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ซึ่งปัจจุบันมีหลายช่องทางให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ ทางไปรษณีย์ หรือยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใกล้บ้าน แต่ต้องไม่ลืมยื่นภายในเวลาที่กำหนด
- ชำระภาษีหรือขอคืนภาษี
ขั้นตอนสุดท้ายคือการชำระภาษีหรือขอคืนภาษี ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการคำนวณภาษีของแต่ละคน หากต้องชำระเพิ่ม คุณสามารถชำระได้ผ่านหลายช่องทาง เช่น ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือโอนผ่าน Mobile Banking แต่หากชำระภาษีไว้เกิน ก็สามารถขอคืนได้โดยระบุในแบบฟอร์มแสดงรายการ และไม่ว่าจะเป็นแบบกรณีใด ก็ควรเก็บหลักฐานการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไว้เสมอ
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการลดหย่อนภาษี
- หลักฐานแสดงรายได้
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
- สลิปเงินเดือน
- หลักฐานการลดหย่อนภาษี
- ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน หรือใบรับรองการชำระเบี้ยประกันจากบริษัทประกัน
- สำเนากรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ
- หนังสือรับรองเบี้ยประกันจากบริษัทประกัน (กรณีประกันชีวิตแบบบำนาญ)
- เอกสารแสดงตน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียภาษี
ครบทั้ง 3 ข้อ สำหรับเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้จากการซื้อประกัน หากศึกษา วางแผน และดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นอย่างรอบคอบก็จะช่วยให้กระบวนการลดหย่อนภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าภาษีที่ต้องจ่ายได้ไม่มากก็น้อย พร้อมจัดการเงินได้อย่างสมดุลและยั่งยืนระยะยาว และหากคุณสนใจวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกันออนไลน์ของกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละแผนได้บนเว็บไซต์นี้ และสามารถซื้อประกันออนไลน์ได้บนเว็บไซต์เช่นเดียวกัน https://bla.bangkoklife.com/qxpslUPUHn
โปรดทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้น ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัย ทั้งนี้ เงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้นอย่างสมบูรณ์จะระบุในกรมธรรม์
**บริษัทอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษให้ในช่วงรับเงินบำนาญ โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษนี้ จะขึ้นอยู่กับเงินปันผล ณ วันครบรอบปีกรมธรรมที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี ซึ่งคำนวณมาจากผลตอบแทนจากการลงทุนของสินทรัพย์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล ตั้งแต่วันที่สัญญาเริ่มมีผลคุ้มครอง จนถึงวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี หลังหักด้วยต้นทุนทั้งหมดของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งบริษัทจะจัดสรรในอัตราร้อยละ 80 ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทพิจารณา ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือขอใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษ
อ้างอิง : humansoft.co.th