“ลงทุนเรื่องเวลากับลูกวันนี้ ก่อนเจอค่าซ่อมราคาแพง”
โดย เมริษา ยอดมณฑป (นักจิตวิทยา)
แต่ความรักจากผู้เลี้ยงดูเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้เช่นกันต่อการเติบโตทางใจของเด็กทุกคน ซึ่งลูกรับรู้ความรักจากการที่พ่อแม่มีเวลาคุณภาพให้กับเขา เกิดเป็นสายสัมพันธ์เชื่อมโยงใจถึงใจ ดังนั้น “เวลาคุณภาพ” จาก พ่อแม่จึงเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 เเละเป็นอาหารหล่อเลี้ยงจิตใจให้เด็กเติบโตอย่างเข้มแข็ง หากขาดปัจจัยนี้ไป คงไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ที่เติบโตสูงใหญ่ แต่ข้างในนั้นอาจจะเว้าแหว่ง วันใดที่ลมพัดแรงอาจจะทําให้ล้มทั้งยืน
ดอกเบี้ยของการซ่อมแซมนั้นแพงมหาศาล หากเทียบกับการลงทุนลงแรงสร้างเพียง 6 ปีเเรกในชีวิตของเด็กคนหนึ่ง เพราะการซ่อมผู้ใหญ่นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย เราอาจจะต้องซ่อมกันไปทั้งชีวิต ข้อความนี้แม้จะฟังดูเกินจริง แต่เมื่อได้รับฟังปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ หลายท่านนํามาปรึกษาแล้วคงพูดได้เลยว่าข้อความดังกล่าวนั้นอาจจะไม่ได้เกินไปจากความจริงเลย วันนี้จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวของสองครอบครัวที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นมาบอกเล่าให้ฟัง
ครอบครัวที่ 1 เล่าว่า “ลูกวัยรุ่นอายุ 15 ปี ไม่เชื่อฟังคุณแม่ ติดโทรศัพท์อย่างหนัก และชอบหนีโรงเรียน ตอนลูกยังเล็ก คุณแม่ได้ฝากพี่เลี้ยงให้ดูแลลูกแทน เพราะคุณแม่ต้องไปทํางานแต่เช้า ตอนดึกกลับมาจากงานลูกก็หลับไปแล้ว เวลาลูกอยากได้อะไรจะซื้อให้ทันที เพื่อชดเชยที่ไม่มีเวลาให้เขา แต่ตอนนี้คุณแม่อยู่บ้านทุกวันเพื่อดูแลลูก แต่เขากลับไม่สนใจคุณแม่เลย”
ครอบครัวที่ 2 เล่าว่า “ลูกวัยรุ่นอายุ 12 ปี คุณแม่และคุณพ่อทํางานอยู่ที่กรุงเทพฯ ส่วนลูกอยู่ต่างจังหวัดกับคุณปู่คุณย่าตั้งแต่เล็ก ปีนี้ เขาขึ้น ม.1 คุณแม่พาเขากลับมาอยู่ด้วย เพื่อที่ลูกจะได้เรียนที่กรุงเทพฯ เมื่อเขามาอยู่ที่บ้านกับเรา เขาเล่นแต่เกมในโทรศัพท์ทั้งวัน ห้ามอะไรก็ไม่ฟัง ไม่เคยช่วยงานบ้าน ไม่สนใจพ่อแม่เลยเหมือนพ่อแม่ไม่มีตัวตนในสายตาลูก ไปโรงเรียนคุณครูที่โรงเรียนก็รายงานมาว่าลูกไม่ส่งงาน และ โดดเรียนเป็นประจํา”
สําหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ในอดีตไม่ได้แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าปัจจุบันเราจะกลับมาแก้ไขเพื่อลูกไม่ได้ วันนี้จึงอยากแนะนำสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นทำได้เลยดังนี้
เราควรหยุดโทษตัวเองในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว เราควรให้อภัยตัวเอง และเดินหน้าช่วยเหลือลูก ปรับเปลี่ยนตัวเองทันที เริ่มตั้งแต่วันที่นี้ที่ตระหนักรู้ เราต้องลงมือทําอย่างจริงจัง และไม่ย่อท้อ
เราควรหยุดตําหนิพร่ำบ่น แต่ฟังลูกให้มาก ฟังให้จบ และฟังด้วยใจ เพื่อให้ลูกรับรู้ว่า “พ่อแม่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น” เพราะถึง แม้เด็กจะทําผิดมา แต่การตําหนิเขาอย่างรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ปัญหาได้รับการคลี่คลาย แต่ถ้าเราฟังเขาให้จบแล้วมาหาทางแก้ปัญหาด้วยกันกับลูก ลูกจะไว้ใจที่จะเล่าปัญหาให้เราฟังมากขึ้น เด็กวัยรุ่นหลายคนยอมรับว่า “พอพ่อแม่เริ่มพูดแทรก และตําหนิเขา ทั้ง ๆ ที่ ยังฟังไม่จบ ทําให้เขารู้สึกไม่อยากเล่าปัญหาหรือเรื่องอะไรให้พ่อแม่ฟังเลย” ดังนั้นพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นต้องเรียนรู้การเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่าการเป็นนักจับผิด