ในโลกปัจจุบันที่การเงินมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต มุมมองความเชื่อทางการเงินของแต่ละ Generation ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเงินที่แตกต่างกันไป โดยในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับความเชื่อทางการเงินของคนใน 3 Generation ที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน ได้แก่ Generation X, Generation Y และ Generation Z
Generation X เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1965 - ค.ศ. 1980 เติบโตในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทั้งวิกฤตการณ์ทางการเงินและความผันผวนของตลาดแรงงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความเชื่อและการตัดสินใจทางการเงินของพวกเขา ดังนี้
ความเชื่อเรื่องการออมเงิน
การออมเงินถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้ เพื่อการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินสำหรับการเกษียณอายุ และยังเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพราะพวกเขาเติบโตมากับแนวคิดที่ว่า การมีเงินออมเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น วิกฤตเศรษฐกิจหรือภาวะตกงาน เป็นต้น
ทัศนคติต่อหนี้สิน
Generation X จะระมัดระวังการใช้เงินที่ไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายส่วนตัว เช่น บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคล รวมถึงหลีกเลี่ยงการกู้ยืมเงินในกรณีที่ไม่จำเป็น และมักจะชำระหนี้ที่มีอยู่ให้หมดเร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยสะสม
มุมมองต่อการลงทุนแบบดั้งเดิม
คนกลุ่มนี้ยังคงนิยมการลงทุนในรูปแบบดั้งเดิม นั่นคือทรัพย์สินที่มีความมั่นคง เช่น หุ้นในบริษัทที่มีชื่อเสียง กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนในระยะยาว
Millennials เกิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1996 พวกเขาเติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นยุคที่เศรษฐกิจโลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น และต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้มีมุมมองทางการเงินที่แตกต่างจาก Generation ก่อนหน้านี้ ดังนี้
ความเชื่อเรื่องการสร้างรายได้หลายทาง
คนรุ่นนี้ไม่ต้องการพึ่งพารายได้จากแหล่งเดียว หลายคนเริ่มทำธุรกิจเสริมเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินควบคู่ไปกับงานประจำ เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ การลงทุน หรือการเป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งความเชื่อนี้สะท้อนถึงความมั่นคงทางการเงินในอนาคตที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น
ทัศนคติต่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
พวกเขามีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อการลงทุนในหุ้นและกองทุนที่มีความเสี่ยง รวมถึงสินทรัพย์ใหม่ ๆ เช่น Cryptocurrency และ Bitcoin ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว
มุมมองต่อการใช้จ่ายเพื่อประสบการณ์
คนใน Generation นี้ให้คุณค่าแก่การใช้จ่ายเพื่อประสบการณ์ชีวิต เช่น การท่องเที่ยว การเรียนรู้ และกิจกรรมที่สร้างความทรงจำ มากกว่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อของใช้ส่วนตัวหรือทรัพย์สินที่ไม่จำเป็น ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น
คนใน Generation นี้ เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1997 - ค.ศ. 2012 และยังเป็นกลุ่มคนที่เกิดในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว เป็นยุคเทคโนโลยีมีอิทธิพลในทุกด้านของชีวิตประจำวัน จึงทำให้พวกเขาเป็นคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และมีความคิดที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่องการเงิน ทำให้คนรุ่นนี้มีมุมมองทางการเงินที่แตกต่างไปจาก Generation ก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้
ความเชื่อเรื่องการเป็นผู้ประกอบการและอาชีพอิสระ
คนกลุ่มนี้เติบโตมากับการเห็นความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างความสำเร็จได้จากเทคโนโลยี พวกเขาจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจของตัวเองหรือประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งให้ทั้งอิสระในการทำงานและโอกาสในการสร้างรายได้ที่ไม่จำกัด
ทัศนคติต่อการลงทุนแบบยั่งยืน
Generation Z ให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ยั่งยืนและมีผลในเชิงบวกต่อสังคม เช่น การลงทุนในกองทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือการวางแผนการเงินเพื่ออนาคต อย่างการทำประกัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย
มุมมองต่อการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน
เมื่อพูดถึงการจัดการการเงิน การทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันเป็นสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย เช่น Fintech, Mobile Banking และแอปการลงทุนต่าง ๆ เพื่อจัดการการเงินส่วนตัว ทำให้การวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่รวดเร็วและง่ายดายกว่าคนรุ่นก่อน
เมื่อเปรียบเทียบความเชื่อทางการเงินของ Generation X, Y, และ Z เราจะเห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนในแต่ละกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันก็มีจุดร่วมที่น่าสนใจในเรื่องการวางแผนเพื่อความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
จุดร่วมและความแตกต่าง
ผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการเงิน
ความเชื่อทางการเงินของแต่ละ Generation ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทางการเงิน
เมื่อพูดถึงความเชื่อทางการเงินในอนาคต Generation Z จะเป็นกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนที่สุด จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า พวกเขาเติบโตมากับเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบายกว่ารุ่นก่อน ๆ ส่งผลให้พวกเขามีแนวคิดทางการเงินที่มุ่งเน้นไปที่ ‘ความมั่นคงและการออมในระยะยาว’ และเริ่มมีการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตเร็วกว่ารุ่นก่อน ๆ
อีกด้านที่น่าสนใจคือ Gen Z มีความสนใจในการเรียนรู้เรื่องการเงินมากขึ้น พวกเขามองว่าการศึกษาในด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและมีมูลค่ามากกว่าที่เคยเป็นในอดีต พวกเขาต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการวางงบ การลงทุน และการเข้าใจเรื่องเครดิต ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการทำประกันที่มอบความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการสะสมทรัพย์ให้เติบโตงอกเงยมากขึ้น ช่วยให้วางแผนทางการเงินได้ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ไปจนถึงมีชีวิตวัยเกษียณที่มีคุณภาพ เพราะการวางแผนทางการเงินที่ดี จะช่วยให้มีอิสรภาพและความมั่นคงทางการเงิน
ประกันบำนาญ แฮปปี้ เพนชั่น (มีเงินปันผล) จากกรุงเทพประกันชีวิต ที่ช่วยวางแผนทางการเงิน ให้คุณใช้ชีวิตเกษียณได้อย่างสบายใจ มีเงินบำนาญใช้ พร้อมกับมอบความคุ้มครองชีวิต
ดูรายละเอียดแผนประกันเพิ่มเติม ลองกดคำนวณเบี้ยเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มครองแต่ละแผนได้ด้วยตัวเอง สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลไปมา รวมถึงซื้อออนไลน์ได้ง่าย ๆ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ได้ที่เว็บไซต์ : https://bla.bangkoklife.com/bwK3dB9NjA หรือติดต่อ Call Center: 02 -777-8888 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
โปรดทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้น ก่อนการตัดสินใจทำประกันภัย ทั้งนี้ เงื่อนไข ความคุ้มครอง และข้อยกเว้นอย่างสมบูรณ์จะระบุในกรมธรรม์
**บริษัทอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษให้ในช่วงรับเงินบำนาญ โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษนี้ จะขึ้นอยู่กับเงินปันผล ณ วันครบรอบปีกรมธรรมที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี ซึ่งคำนวณมาจากผลตอบแทนจากการลงทุนของสินทรัพย์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล ตั้งแต่วันที่สัญญาเริ่มมีผลคุ้มครอง จนถึงวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี หลังหักด้วยต้นทุนทั้งหมดของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งบริษัทจะจัดสรรในอัตราร้อยละ 80 ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทพิจารณา ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือขอใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษ
อ้างอิง: kubix.co, bangkokbiznews.com, bloomberg.com, everydaymarketing.co