รู้จัก "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา"และ"ค่าลดหย่อน"

รู้จัก

ภาษี คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการเพื่อเป็นรายได้นำมาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้แก่ การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ถนน ไฟฟ้า ประปา และการป้องกันประเทศ เป็นต้น ในฐานะบุคคลธรรมดา หนึ่งในภาระหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการเสียภาษี ทั้งนี้การทำความเข้าใจเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าลดหย่อนต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยให้เราปฏิบัติตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง แล้วยังช่วยให้เราประหยัดเงินได้จากค่าลดหย่อนภาษีอีกด้วย

ทำไมเราต้องเสียภาษี แล้วบางคนไม่ต้องเสียภาษี

เหตุผลที่เราต้องเสียภาษีเพราะกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้เกินเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียภาษี มีบางกรณีที่บุคคลอาจได้รับการยกเว้นภาษี เช่น มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในโครงการที่ภาครัฐส่งเสริม สำหรับมนุษย์เงินเดือนนั้น รายได้สุทธิจะเป็นตัวกำหนดภาษี โดยมีวิธีคำนวณโดยคร่าว ดังนี้

 
รายได้สุทธิ = รายได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
 

รายได้ตลอดทั้งปี ได้แก่เงินได้ทั้งหมดที่ได้รับในปีที่คิดภาษี ซึ่งรวมถึงเงินเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชัน เบี้ยเลี้ยง เงินได้จากงานอิสระ

ค่าใช้จ่าย โดยทั่วไปจะคิดแบบเหมารวมซึ่งสามารถนำมาหักได้ 50% ของรายได้จากงานประจำสูงสุด 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนส่วนตัว ที่กฎหมายอนุญาตให้หักจากรายได้ หรือที่เรียกกันว่าการลดหย่อนภาษีโดยมีค่าลดหย่อนส่วนตัวที่หักได้ 60,000 บาทต่อคน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมได้ เช่น ค่าลดหย่อนกองทุนรวม ค่าลดหย่อนประกันชีวิต ค่าลดหย่อนสำหรับการบริจาค หรือแคมเปญรัฐบาล

เงินได้สุทธิที่คำนวณได้ :
  • ไม่เกิน 150,000 บาท: ได้รับยกเว้นภาษี
  • เกิน 150,000 บาท: เสียภาษีอัตราก้าวหน้า 5-35%

สำหรับผู้มีรายได้จากงานประจำอย่างเดียว :
  • เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท : ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • เงินเดือน 10,001-26,583.33 บาท : ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท: ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
 

อัตราภาษีจะแบ่งตามช่วงรายได้ ดังนี้

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี
0 - 150,000 ยกเว้น
150,001 - 300,000 5%
300,001 - 500,000 10%
500,001 - 750,000 15%
750,001 - 1,000,000 20%
1,000,001 - 2,000,000 25%
2,000,001 - 5,000,000 30%
5,000,001 ขึ้นไป 35%
 

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นหน้าที่สำคัญของทุกคนที่มีรายได้ แม้ว่ารายได้สุทธิประจำปีจะยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ตาม นอกจากนี้ การใช้สิทธิลดหย่อนภาษียังเป็นประโยชน์อย่างมากต่อตัวเรา ไม่เพียงแต่อาจช่วยให้ได้รับเงินคืนภาษีในแต่ละปีเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลอีกด้วย

 

ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร ค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

ค่าลดหย่อนภาษี คือรายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาหักออกจากรายได้ก่อนคำนวณภาษี โดยตัวอย่างของค่าลดหย่อนภาษีที่สำคัญ มีดังนี้

ค่าลดหย่อนภาระติดตัว

ผู้ยื่นภาษีสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนตัวของตนเอง และสมาชิกครอบครัวในความดูแลของตนนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเกณฑ์ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
  3. ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท
  4. บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
  5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท

ประกันและการลงทุน

การทำประกันลดหย่อนภาษีเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในการลดหย่อนภาษี โดยค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ หากคู่สมรสมีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออม SSF (Super Saving Funds) สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท อีกทั้งในปี 2567 นี้ ยังมีกองทุนหมวด ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 300,000 บาท โดยไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำอีกด้วย

กระตุ้นเศรษฐกิจ

ภาครัฐมีการออกมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในแต่ละปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเอื้อประโยชน์แก่ประชาชน ตัวอย่างล่าสุดคือโครงการ "ช้อปดีมีคืน" ซึ่งมีวัตถุประสงค์สองประการ:

  1. กระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
  2. ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประชาชน โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท

มาตรการเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการสร้างสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจและการให้ประโยชน์ทางภาษีแก่ประชาชน

ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย

ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืม สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

การบริจาค

เงินบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่บริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน ส่วนเงินบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษเช่น เพื่อการศึกษา การกีฬา โรงพยาบาลรัฐ ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของจำนวนยอดเงินที่บริจาค สูงสุดไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

ข้อควรปฏิบัติกรณีต้องเสียภาษีเพิ่มเติม และ ข้อควรระวังในการจ่ายล่าช้า

หากทำการแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสร็จเรียบร้อยแล้วพบว่าต้องเสียภาษีเพิ่มเติม ควรดำเนินการชำระยอดเพิ่มเติมดังกล่าวในเวลาที่กำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด

การทำความเข้าใจเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าลดหย่อนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เราปฏิบัติตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง และสามารถหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ถูกต้องหรือล่าช้าได้ รวมไปถึงช่วยในการวางแผนการเงินประจำปีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลดหย่อนภาระภาษีที่ต้องจ่าย

หนึ่งในวิธีการลดหย่อนภาษีที่ได้รับความนิยมนั่นคือการทำประกันลดหย่อนภาษี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีแล้ว ยังให้ความคุ้มครองชีวิต รวมไปถึงช่วยในการวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ประกันลดหย่อนภาษี ที่น่าสนใจขอแนะนำ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5 (BLA Smart Return 10/5) จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) แบบประกันออนไลน์ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี พร้อมวางแผนทางการเงิน ด้วยแผนประกันที่มอบความคุ้มครองชีวิตนาน 10 ปี พร้อมกับให้คุณรับเงินคืนก้อนใหญ่ คืนเงินไวกว่ากองทุน SSF

  • ชำระเบี้ยสั้น 5 ปี เบี้ยประกันภัยรายปี เริ่มต้นปีละ 20,000 บาท เฉลี่ยเดือนละพันนิด ๆ
  • ได้รับเงินคืนไว คืนเงินก้อนใหญ่ ดังนี้
    • ปีที่ 5-6 รับเงินคืนปีละ 10%*
    • ปีที่ 7-9 รับเงินคืนปีละ 100%*
    • ปีที่ 10 รับเงินคืน 205%*
    • รวมตลอดสัญญา รับเงิน 525%*
  • ความคุ้มครองชีวิตนาน 10 ปี กรณีเสียชีวิตรับเงินคืนสูงสุด 505%* กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะช่วยให้ครอบครัวที่ยังอยู่ได้รับเงินก้อนชดเชย ไม่ลำบาก
    *%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด เท่ากับว่าคุณจะไม่ต้องกังวลเรื่องสิทธิลดหย่อนภาษีในระยะเวลาอีก 5 ปี ตามแผนประกันที่ชำระเบี้ย 5 ปี
 

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5 (BLA Smart Return 10/5) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีควบคู่ไปกับการวางแผนการเงิน

นอกจากนี้ทุกแบบประกันออนไลน์จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยแต่ละแบบประกันมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เช่น

ประกันสะสมทรัพย์ : มอบความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการสร้างเงินออม
เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

ประกันบำนาญ : ช่วยวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ ช่วยให้มีเงินบำนาญใช้หลังจากเกษียณอายุแล้ว พร้อมกับมอบความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปด้วย
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนกบข. / กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) / กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ประกันสุขภาพ : ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย
เบี้ยประกันสุขภาพ : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี และรวมกับเบี้ยประกันชีวิตได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

การเลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราได้รับความคุ้มครองที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ แต่ยังเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการใช้ประโยชน์จากค่าลดหย่อนต่าง ๆ รวมถึงการพิจารณาทำประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนภาษี จึงเป็นก้าวสำคัญในการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน สนใจทำประกันออนไลน์กับกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) หรือต้องการศึกษาแผนประกันเพิ่มเติม สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ https://bla.bangkoklife.com/qxpslUPUHn

อ้างอิง: กรมสรรพากร, finnomena.com