Midlife Crisis วิกฤตที่เป็นโอกาส เริ่มต้นชีวิตใหม่

Midlife Crisis วิกฤตที่เป็นโอกาส เริ่มต้นชีวิตใหม่

ชีวิตของทุกคนย่อมต้องผ่านพ้นช่วงวิกฤตต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยหนึ่งในวิกฤตที่ทำให้ชีวิตของหลาย ๆ คนเปลี่ยนไป คือ “Midlife Crisis” หรือวิกฤตวัยกลางคน ที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะเมื่อชีวิตเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่ ทำให้หลายคนรู้สึกถูกกดดันจากสังคม อาชีพ และความรับผิดชอบรอบด้าน จนไม่มีเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบและสนใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ขาดพลังชีวิต และคิดว่าชีวิตของตนไม่มีความหมาย

หลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่แท้จริงมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากแต่เป็นโอกาสให้เราได้หันกลับมามองชีวิตของตัวเองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวเองได้ปรับ เปลี่ยน และแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ อาจนำพาชีวิตคุณไปสู่ความสุข และสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่าที่เคยเป็นก็ได้

Midlife Crisis คืออะไร และอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดวิกฤตนี้?

Midlife Crisis หรือวิกฤตวัยกลางคน เป็นภาวะทางจิตใจที่มักจะเกิดขึ้นกับวัยกลางคน ช่วงอายุ 35-65 ปี โดยผู้ที่ประสบกับวิกฤตนี้มักจะรู้สึกวิตกกังวล น้อยใจ สับสน เครียด หาความสุขไม่ได้ หรือไม่แน่ใจในชีวิตของตนเอง ซึ่งวิกฤตวัยกลางคนนี้ ไม่ใช่โรคจิตเภท แต่อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตวัยกลางคน อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา สามารถสรุปได้ดังนี้

  • แรงกดดันจากสังคม : ในสังคมที่มีบรรทัดฐานกำหนดว่าชีวิตควรเป็นอย่างไร ต้องประสบความสำเร็จแค่ไหน หรืออาชีพต้องก้าวหน้าถึงขั้นไหน จึงกลายเป็นแรงกดดัน เมื่อไม่สามารถใช้ชีวิตให้เป็นแบบนั้นได้
  • ร่างกายเปลี่ยนไป ไม่เหมือนตอนหนุ่มสาว : เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมลงเป็นธรรมดา มีริ้วรอย ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเก่า ทำให้บางคนรู้สึกแย่กับตัวเอง
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน : ผู้หญิงในวัย 35-40 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้หงุดหงิดง่ายกว่าที่เคยเป็น
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ : วัยกลางคนบางคนอาจมีการหย่าร้าง แยกทาง หรือบางคนที่ลูกเริ่มโต และแยกออกไปใช้ชีวิต ทำให้รู้สึกกลับมาโดดเดี่ยวอีกครั้ง
  • สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก : การสูญเสียบุคคลในชีวิตโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน อาจทำให้บางคนไม่สามารถทำใจยอมรับกับเหตุการณ์นั้นได้ และนำไปสู่วิกฤตวัยกลางคนนี้ในที่สุด

จากข้างต้นสรุปได้ว่า วิกฤตวัยกลางคนมักเกี่ยวข้องกับการค้นหาความหมายของชีวิต การตระหนักถึงความจำกัดของเวลามากขึ้น และการพยายามปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และบทบาทสังคม

เราจะรู้ได้ยังไงว่ากำลังเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคนอยู่?

แม้วิกฤตวัยกลางคนจะไม่ได้เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ แต่แรงกดดันจากสังคมในปัจจุบัน ก็ส่งผลให้มีคนประสบปัญหานี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่จัดการให้ถูกวิธี ก็อาจส่งผลกระทบระยะยาว จนนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะฉะนั้นมาสังเกตตัวเองกัน ว่ามีสัญญาณของวิกฤตวัยกลางคนหรือไม่ จะได้หาทางแก้ไขได้ทัน โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

  • รู้สึกเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต เบื่องาน ขาดแรงบันดาลใจ : อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกว่างานที่ทำน่าเบื่อ ไม่ท้าทาย หรือรู้สึกว่าไม่สามารถหาความสุขจากสิ่งเดิม ๆ ได้อีกต่อไปแล้ว และรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ ไร้แรงจูงใจไปพร้อม ๆ กัน
  • ไม่พอใจกับรูปร่างหน้าตา สุขภาพ หรือการเป็นตัวเอง : รู้สึกไม่พอใจกับอายุที่มากขึ้น เห็นร่องริ้วรอยบนใบหน้าแล้วไม่อยากยอมรับความจริง และอยากกลับไปสวย หล่อ เหมือนแต่ก่อน
  • ต้องการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งในชีวิต : อยากเปลี่ยนงานใหม่ อยากเปลี่ยนสถานภาพ เช่น หย่าร้าง หรือแต่งงานใหม่ หรืออยากเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ เช่น ทำศัลยกรรม
  • รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็ว และรู้สึกว่าชีวิตกำลังจะสิ้นสุดลง : เริ่มกังวลถึงอนาคตที่ไม่แน่นอน คิดถึงความหมายและคุณค่าของการใช้ชีวิตมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง และควรจะทำอะไรต่อไป
  • ตัดสินใจเร็ว ไม่คิดหน้าคิดหลัง : เมื่อเริ่มรู้สึกว่าเวลาในการใช้ชีวิตเหลือไม่มาก พออยากทำอะไรก็ทำเลย ไม่คิดหน้าคิดหลัง โดยที่ก่อน หรือหลังการตัดสินใจ มักจะเครียด และกังวลในสิ่งที่จะกระทำ
  • นอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการนอน : พฤติกรรมการนอน และการกินเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งข้อนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่อาจบอกว่า คุณกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว ต้องรีบจัดการโดยด่วน

หากคุณมีสัญญาณเหล่านี้ แสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงและวิกฤตภายในจิตใจ แต่ไม่ต้องกลัว เพราะเราสามารถเตรียมพร้อมให้ก้าวพ้นช่วงเวลานี้ และเดินหน้าสู่ชีวิตใหม่ได้อย่างมั่นใจและมีความสุขมากขึ้นได้

3 วิธีเตรียมรับมือ เพื่อเติมเชื้อไฟให้ชีวิตมีความสุข และมีพลังอีกครั้ง

ยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน หากเราเตรียมรับมือมาอย่างดี และมองว่านี่คือโอกาสให้เราได้สำรวจตนเองใหม่ เพื่อวางแผนการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นกว่าเคย ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ โดยในบทความนี้จะมาแนะนำ 3 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้

  1. การปรับการใช้ชีวิต

    ควรหันมาใส่ใจในสิ่งที่มีคุณค่า และทำให้เรามีความสุขมากขึ้น เช่น งานอดิเรกที่ชอบ การใช้เวลากับคนรัก ดื่มด่ำความสุขไปกับสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ซึ่งอาจช่วยให้เราได้แรงบันดาลใจใหม่ ๆ กลับมา ที่สำคัญควรแบ่งเวลาให้สมดุลด้วย

    ลองทบทวน และตั้งเป้าหมายใหม่ให้ชีวิต แม้ที่ผ่านมาเป้าหมายที่เคยตั้งไว้อาจจะยังไม่สำเร็จ แต่ทุกอย่างล้วนเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ดังนั้นมาลองตั้งเป้าหมายใหม่สักอย่าง แล้วลงมือทำเลย อาจจะเป็นความฝัน หรือสิ่งที่คิดมานานแล้ว แต่ไม่ได้ทำสักที เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ให้เรามีไฟมุ่งสู่จุดหมายปลายทางให้สำเร็จได้ในที่สุด

  2. การวางแผนการจัดการเงิน

    เริ่มต้นจากวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองในปัจจุบัน ดูว่ารายรับ-รายจ่าย เป็นอย่างไร มีหนี้สินอะไรไหม เพื่อจะวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสม และไม่บีบคั้นจนเกินไป

    โดยหนึ่งในวิธีวางแผนจัดการการเงินที่เราแนะนำ คือ การทำประกันออมทรัพย์และประกันบำนาญ เพื่อคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการบริหารเงินออม เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนแล้ว ยังมีผลตอบแทนที่แน่นอนตามสัญญา ซึ่งเราสามารถเลือกแผนประกันออมทรัพย์ เลือกระยะการชำระเบี้ยที่เหมาะกับเราได้อย่างยืดหยุ่น

    • ยกตัวอย่าง ประกันออมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 15/10 จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ที่ช่วยสร้างเงินออมหลักแสน ด้วยเบี้ยเริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,000 บาท
      • รับเงินคืนทุกปี ปีละ 2% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และเมื่อครบกำหนดสัญญารับ 108% (%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
      • ได้รับความคุ้มครองชีวิตนานถึง 15 ปี หากเสียชีวิต รับเงินคืนสูงสุด 130% (%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย)
      • ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี 1

    • ยกตัวอย่าง ประกันบำนาญ แฮปปี้ เพนชั่น (มีเงินปันผล) จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ที่การันตีเงินบำนาญถึงอายุ 99 ปี และมีโอกาสรับเงินบำนาญเพิ่มพิเศษ ช่วยให้คุณสามารถวางแผนวัยเกษียณได้อย่างสบายใจ จัดการได้ง่าย เลือกระยะเวลาชำระเบี้ยได้ ตั้งแต่ 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี หรือจนถึงอายุ 60 ปี พร้อมนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ถึง 300,000 บาทต่อปี 1

  3. การวางแผนด้านสุขภาพ

    หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพ ลดโรคภัย และผ่อนคลายความเครียดจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบเจอ และเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรับอาหารให้เหมาะสมกับวัย ลดอาหารจานด่วน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    วางแผนเรื่องสุขภาพด้วยการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพื่อไม่ให้กระทบเรื่องการเงินในอนาคต เพราะอย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ทุกคนต้องเจออีกหนึ่งก้อน คือ ค่ารักษาพยาบาล ไม่มีใครหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยได้ หากโชคร้ายเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องผ่าตัด หรือต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม

    ดังนั้นการมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ถือเป็นการคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่เราสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ อาจไม่ใช่ประกันที่มีผลกำไรตอบแทนเหมือนประกันสะสมทรัพย์ แต่ประกันชีวิตเหมือนการวางแผนล่วงหน้าระยาว แถมยังช่วยการันตีได้ว่า หากเจ็บป่วยขึ้นมา ก็ไม่ต้องควักเงินจ่ายเอง บริษัทประกันฯ จะเข้ามาดูแลให้ อีกทั้งเบี้ยประกันที่จ่ายไป ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษี 1 ได้อีกด้วย บอกเลยว่าได้ผลประโยชน์กลับมาทั้งสองทาง ยิ่งวางแผนการทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งได้เปรียบ

    • ยกตัวอย่าง ประกันสุขภาพออนไลน์ บีแอลเอ คอมพลีท เฮลธ์ จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5 ล้านบาท ต่อครั้ง 2 และไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี แถมยังครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล 2
      • รับ 100,000 บาท เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 1 ใน 20 โรค เป็นครั้งแรก
      • เลือกชำระเบี้ยได้ทั้งแบบรายปี และรายเดือน
      • สามารถเลือกกำหนดแผนความคุ้มครองแบบมีความรับผิดส่วนแรก 3 เพื่อลดค่าเบี้ยประกันภัยให้ถูกลง จัดสรรให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคุณได้เลย
      • ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 1

แม้วิกฤตวัยกลางคนจะเป็นเรื่องที่เกิดได้กับทุกคน แต่อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่ “วิกฤต” หรือ “เรื่องน่ากลัว” แต่เป็นโอกาสให้เราได้ตั้งหลักทบทวนชีวิตของตัวเอง ให้มีความหมายและมีคุณค่ายิ่งขึ้น เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคและข้อจำกัดในอดีต ไปสู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และประสบการณ์ใหม่ ๆ ดังนั้นใครกำลังเผชิญวิกฤตนี้อยู่ อย่าลืมนำ 3 กลยุทธ์ข้างต้นไปปรับใช้ เพื่อให้สามารถข้ามผ่านวิกฤตวัยกลางคนนี้ไปได้อย่างราบรื่น และมีพลังใจ พร้อมเปิดรับช่วงชีวิตใหม่ได้อย่างเต็มที่

เริ่มต้นวางแผนการใช้ชีวิต วางแผนทางการเงิน และวางแผนเรื่องสุขภาพให้พร้อม ด้วยแผนประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันบำนาญ และประกันสุขภาพ จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) มีหลายแผนให้เลือกตามความต้องการ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณ

สนใจทำประกันออนไลน์กับกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) หรือต้องการศึกษาแผนประกันเพิ่มเติม สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ https://www.bangkoklife.com/online/th

1 ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
2 สำหรับแผนความคุ้มครอง 3
3 ความรับผิดส่วนแรก (Deductible) หมายถึง ความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระตามข้อตกลงของสัญญาประกันภัย

อ้างอิง : businessplus, pobpad, petcharavejhospital, istrong, investerest