ฉลาดออม ฉลาดลงทุน ทริกวางแผนการเงินในยุคเงินเฟ้อ

ฉลาดออม ฉลาดลงทุน ทริกวางแผนการเงินในยุคเงินเฟ้อ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและค่าครองชีพก็พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทำงานที่กำลังสร้างฐานะและมองหาความมั่นคงในอนาคต แต่ท่ามกลางความท้าทายนี้หลายคนอาจไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร เพราะถ้าพูดถึงการวางแผนการเงิน หลายคนก็มักจะเกิดคำถามที่ว่า “จะต้องออมเงินยังไงในเมื่อรายจ่ายมีแต่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ ” หรือ “จะลงทุนอะไรดีเพื่อให้เงินที่มีงอกเงย แม้อยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน” ซึ่งคำตอบของคำถามเหล่านี้คงไม่ได้ง่าย แต่ถ้าคุณรู้วิธีที่ถูกต้องและวางกลยุทธ์ทางการเงินที่เหมาะสม ก็จะสามารถทำได้อย่างแน่นอน

ในบทความนี้จะพาคุณไปเรียนรู้วิธีการจัดการเงินที่ชาญฉลาด แนะนำการลงทุนที่เหมาะสม พร้อมรับทริกที่จะช่วยให้คุณไม่เพียงแค่อยู่รอดในยุคเงินฝืด แต่ยังสามารถสร้างความมั่งคั่งและความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้อีกด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่เพิ่งเริ่มต้นหันมาวางแผนการเงิน หรือเป็นคนที่กำลังมองหาวิธีวางแผนการเงินใหม่ ๆ มาเริ่มต้นการเดินทางสู่ความมั่นคงทางการเงินไปด้วยกัน

เศรษฐกิจผันผวนในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่าครองชีพพุ่งสูง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายคนต้องเผชิญและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการวางแผนการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่จะรู้ว่าควรรับมืออย่างไร มาทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายกันก่อนดีกว่า

  1. การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและน้ำมัน
    ราคาน้ำมันที่ผันผวนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเช่นเดียวกัน
  2. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก
    ในปัจจุบันยังมีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ล้วนส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินและส่งผลต่อการลงทุน
  3. การขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรม
    ปัญหาห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และการก่อสร้าง ทำให้ราคาสินค้าในกลุ่มเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้น
  4. นโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล
    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลบางประการ เช่น การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ หรือการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ล้วนส่งผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพของประชาชน
  5. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
    สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น

    การเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการวางแผนการเงิน เพราะเมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย เราจะสามารถวางกลยุทธ์ในการรับมือและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม มาดูกันว่าสถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการออมและการลงทุนของประชาชนอย่างไรบ้าง และมีวิธีการจัดการอย่างไร

ความท้าทายและผลกระทบในยุคค่าครองชีพสูง

ในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ การจะรักษาคุณภาพชีวิตให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถือเป็นเรื่องท้าทายที่หลายคนต้องเผชิญ ทำให้เกิดความกดดันทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลต่อความสามารถในการออมและการลงทุน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ดังนี้

  1. รายได้ไม่พอ ค่าใช้จ่ายพุ่งสูง
    • รายได้ไม่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ทำให้อำนาจซื้อลดลง
    • ค่าใช้จ่ายประจำวันเพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อเงินออม
    • ภาระหนี้สินอาจเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับคุณภาพชีวิต
  2. ลงทุนยาก ความเสี่ยงสูง
    • ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้การตัดสินใจลงทุนยากขึ้น
    • อัตราดอกเบี้ยต่ำกระทบต่อผลตอบแทนจากการออมแบบดั้งเดิม
    • ความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาผลตอบแทนให้เหนือเงินเฟ้อ
  3. เป้าหมายระยะยาวสั่นคลอน
    • การวางแผนเกษียณอาจต้องใช้เงินออมมากขึ้น
    • การซื้อบ้านอาจยากขึ้น เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น
    • การวางแผนการศึกษาสำหรับบุตรต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ความท้าทายเหล่านี้ก็ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญเช่นกันในการปรับตัวและวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นมาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้างที่จะช่วยให้เรารับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ และยังสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวได้ด้วย

3 แนวทางการปรับตัว เพื่อวางแผนทางการเงิน ให้พร้อมรับมือ

การปรับตัวทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการวางแผนการเงินที่รอบคอบและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ได้ดียิ่งขึ้น โดยคุณสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ 3 แนวทางนี้ในการปรับตัว

  1. รักษาสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย
    สามารถทำได้ไม่ยาก เช่น ทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย อย่างละเอียด ก็จะช่วยให้เห็นภาพรวมทางการเงินได้ชัดเจนขึ้น ช่วยให้คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและหาโอกาสในการเพิ่มรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
    แม้ในยุคนี้การลงทุนจะเป็นเรื่องที่เสี่ยง เพราะความผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่การเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แม้จะเล็กน้อยก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวได้ รวมไปถึงการวางแผนเกษียณให้กับตัวเองในอนาคต ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวด้วย
  3. ลดความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
    การกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ ประเภทสินทรัพย์ จะช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนลงได้ นอกจากนี้ต้องหมั่นพัฒนาทักษะและความรู้ทางการเงินของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเรื่องการเงินได้ดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

แค่นำแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำ ก็จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินและเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้กับคุณได้

สร้างภูมิคุ้มกันให้เป็นเกราะป้องกันทางการเงินในยุคเศรษฐกิจผันผวน

การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูงอย่างในปัจจุบัน ดังนั้นการมีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี ก็จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน การเจ็บป่วย หรือวิกฤตเศรษฐกิจ โดยคุณสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับตัวเองได้ตาม 3 หลัก ดังนี้

  1. มีเงินสำรองฉุกเฉิน
    การมีเงินสำรองฉุกเฉินจะช่วยให้คุณสามารถไปต่อได้แม้ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน โดยเงินสำรองฉุกเฉินที่ควรมี คือ ต้องเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน แต่ก็ไม่ต้องเครียดจนกดดันตัวเองมากจนเกินไป คุณแค่ต้องค่อย ๆ ปรับตัวไปเรื่อย ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
    • ออมเงินทุกเดือน อย่างน้อย 10% ของรายได้ แม้จะเป็นจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ช่วยมีพื้นฐานสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงได้
    • เก็บเงินสำรองในบัญชีที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีออมทรัพย์ที่สามารถถอนได้ทันทีเมื่อต้องการ
    • พิจารณาใช้บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป แต่ยังคงมีสภาพคล่องดี
  2. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
    การกระจายการลงทุนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการลดความเสี่ยงและช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับคุณได้
    • ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร กองทุนรวม หรือประกันสะสมทรัพย์ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    • พิจารณาลงทุนในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์และสกุลเงิน
    • ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบต้นทุนเฉลี่ย (Dollar-Cost Averaging) เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาด
    • ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่คุณลงทุน และปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
  3. วางแผนทำประกันให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ชีวิตของตัวเอง
    การทำประกัน เป็นการบริหารความเสี่ยงในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการทำประกันสุขภาพ ที่จะสามารถช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาลในอนาคตให้กับคุณได้ หรืออาจจะพิจารณาทำประกันสะสมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวคุณและครอบครัวในระยะยาวได้ด้วย

    การจะสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความอดทนและวินัยทางการเงิน การเริ่มต้นวางแผนการเงินและทำตามแผนที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับความท้าทายทางการเงินในอนาคตได้อย่างมั่นใจมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

ประกันสะสมทรัพย์ ทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมในยุคค่าครองชีพสูง

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าถ้าหากจะลงทุน ก็ควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปในหลาย ๆ สินทรัพย์ โดยหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้คุณได้อย่างดีและสร้างความมั่นคงให้กับคุณได้ในระยะยาว คือ การทำประกันสะสมทรัพย์ นอกจากจะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแล้ว ยังให้ความคุ้มครองชีวิต และให้ผลตอบแทนที่แน่นอน

ซึ่งทั้งหมดนี่ก็สอดคล้องกับแนวทางการปรับตัวทางการเงินที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในด้านการสร้างสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย และการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว โดยการเลือกทำประกันสะสมทรัพย์ คุณก็ควรเลือกแบบประกันที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวคุณเองด้วย

ขอแนะนำ ประกันออมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 15/10 (BLA Smart Return 15/10) จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ประกันสะสมทรัพย์ที่สามารถเลือกชำระเบี้ยประกันภัยแบบรายปี หรือรายเดือนได้ โดยเบี้ยรายเดือนเริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,000 บาท ช่วยสร้างเงินออมหลักแสนให้คุณได้จริง ด้วยแผนประกันดังนี้

  • มอบความคุ้มครองชีวิตนาน 15 ปี พร้อมรับเงินคืนทุกปี ปีละ 2%* และเมื่อครบกำหนดสัญญา คุณจะได้รับเงินก้อนคืน 108%*
  • เลือกชำระเบี้ยประกันภัยแบบรายเดือน หรือรายปีได้
    • เบี้ยรายเดือน เริ่มต้นเดือนละ 1,000 บาท
    • เบี้ยรายปี เริ่มต้นปีละ 12,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต รับเงินคืนสูงสุด 130% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ช่วยให้ผู้รับผลประโยชน์หรือครอบครัวที่ยังอยู่ ได้รับเงินก้อนชดเชยไว้ใช้จ่าย
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
 

การทำประกันสะสมทรัพย์ นอกจากจะช่วยสร้างเงินออมพร้อมมอบความคุ้มครองชีวิตให้กับคุณแล้ว การเลือกชำระเบี้ยรายเดือน หรือชำระเบี้ยปีต่อตามแผนประกันนี้ จะเป็นตัวช่วยสร้างวินัยทางการออมให้กับคุณไปพร้อม ๆ กันด้วย

รวมถึงขอแนะนำ ประกันสะสมทรัพย์ บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5 (BLA Smart Return 10/5) หรือประกัน 10 5 จากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ประกันสะสมทรัพย์ที่จะช่วยให้คุณสามารถบริหารการเงินได้ดีขึ้น เพราะคุณจะได้รับเงินก้อนคืนเร็วกว่ากองทุน SSF สามารถนำเงินก้อนนี้นำไปลงทุนต่อยอดให้เงินงอกเงยอีกได้ ช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ในอนาคต ไปพร้อม ๆ กับได้รับความคุ้มครองชีวิต เหมาะกับการออมเพื่อวางแผนชีวิตในระยะ 7-10 ปี

  • ชำระเบี้ยเพียงแค่ 5 ปี ให้ความคุ้มครองชีวิตนานถึง 10 ปี
  • เบี้ยประกันภัยรายปี เริ่มต้นปีละ 20,000 บาท เฉลี่ยเดือนละพันนิด ๆ
  • คุณจะได้รับเงินก้อนใหญ่ คืนไวกว่ากองทุน SSF
    • ปีที่ 5-6 รับเงินคืนปีละ 10%* ปีที่ 7-9 รับเงินคืนปีละ 100%*
    • ปีที่ 10 รับเงินคืน 205%* รวมตลอดสัญญา รับ 525%*
  • กรณีเสียชีวิต รับเงินคืนสูงสุด 505%* 
    *%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

อีกหนึ่งประกันสะสมทรัพย์ ที่เบี้ยประกันภัยรายปีเริ่มต้นไม่สูง แต่มอบสภาพคล่องทางการเงินสูงมาก ด้วยแผนประกันที่คืนเงินก้อนใหญ่ คืนไวในปีที่ 3 พร้อมมอบผลประโยชน์เพิ่มกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ กับ ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี บีแอลเอ ฟาสต์ รีเทิร์น 10/2

  • จ่ายเบี้ยสั้น 2 ปี ในปีกรมธรรม์ที่ 3 รับเงินก้อนคืน 100%*
  • ครบกำหนดสัญญา รับเงินคืนอีก 100%*
  • เบี้ยประกันภัยรายปี เริ่มต้นปีละ 29,100 บาท
  • กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ รับผลประโยชน์เพิ่ม 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
*%ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
 

การจะวางแผนการเงินได้ดีในยุคที่ค่าครองชีพสูงและเศรษฐกิจมีความผันผวน ถือเป็นความความท้าทายที่ทุกคนต้องเผชิญ แต่ถ้าคุณมีการปรับตัวและมีการวางแผนที่รอบคอบ คุณก็จะสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเองได้ ในท้ายที่สุด การวางแผนการเงินที่ดี ไม่ได้หมายถึงต้องปิดกั้นตัวเองจากความสุขในชีวิต แต่ต้องหาสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในปัจจุบันและการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการวางแผนทางการเงินที่รอบคอบ มีเงินออม และเลือกลงทุนอย่างเหมาะสมและชาญฉลาด คุณก็จะสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตให้กับตัวเองได้ แม้ในยุคที่เศรษฐกิจมีความท้าทายอย่างนี้ก็ตาม

การทำประกันสะสมทรัพย์เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน ไปพร้อม ๆ กับได้รับความคุ้มครองชีวิต ซึ่งคุณสามารถเลือกแผนประกันที่ตอบโจทย์แผนทางการเงินที่คุณต้องการด้วยตัวเองได้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กดคำนวณเบี้ย เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์และความคุ้มครอง เพื่อเลือกแผนประกันที่เหมาะกับคุณที่สุด และซื้อประกันออนไลน์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ แล้วรอผลอนุมัติประมาณ 1 - 3 วันทำการ และรับความคุ้มครองได้เลย ที่ https://bla.bangkoklife.com/qxpslUPUHn

หมายเหตุ
- โปรดทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

อ้างอิง: bot.or.th, bbc.com