อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญที่สุดของคนเรา มนุษย์ต้องกินอาหารทุกวัน วันละ 3 มื้อ (บางคนอาจมีมื้อที่ 4 5 6 ด้วย) แต่รู้ไหมว่า อาหารที่เรากินเข้าไปแทบทุกมื้อนั้นอาจแฝงโรคร้าย ให้เราไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอาหารรสเค็มที่มี "โซเดียม" อยู่มากมาย
 

โซเดียมเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่

แต่ไม่ได้มีรสเค็มจัดเหมือนเกลือ ทำให้ในแต่ละวันเรากินโซเดียมอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ ผงฟูที่ใช้ทำขนมปัง สารกันบูด ไม่ใช่ว่าโซเดียมจะมีแต่ข้อเสีย ข้อดีของมันคือช่วยรักษาความเป็นกรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำสารอาหารและแร่ธาตุไปเลี้ยงร่างกาย แต่ถ้ากินมากไป ระวัง! ร่างอาจพัง...โรคเรื้อรังมาโดยไม่รู้ตัว

เพราะโซเดียมทำให้ไตทำงานหนัก

จนร่างกายเสียสมดุล เมื่อร่างกายเสียสมดุลไปแล้ว โรคต่างๆ ก็จะเดินขบวนพาเหรดตามมามากมาย ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต และโรคอื่นๆ อีกสารพัด

กินเค็มแค่ไหนจึงปลอดภัย?

องค์การอนามัยโลกเคยบอกไว้ว่า คนเราควรกินโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ถ้าไม่เห็นภาพก็คือ วันนึงกินเกลือได้ไม่เกิน 1 ช้อนชา แต่ไม่ใช่แค่เกลือเท่านั้นที่มีโซเดียม เครื่องปรุงต่างๆ ก็อุดมไปด้วยโซเดียมทั้งนั้น กินขาดได้ แต่กินเกินไม่ดีแน่

SukRobDan10 SukRobDan10 SukRobDan10 SukRobDan10 SukRobDan10

นํ้าปลา 1 ช้อนชา
โซเดียม 500 มิลลิกรัม

ผงชูรส 1 ช้อนชา
โซเดียม 610 มิลลิกรัม

ปลาร้า 1 ช้อนชา
โซเดียม 500 มิลลิกรัม

ซุปก้อน 1 ก้อน
โซเดียม 1,760 มิลลิกรัม

กะปิ 1 ช้อนชา
โซเดียม 500 มิลลิกรัม


 

ในแต่ละวันเรากินโซเดียมโดยไม่รู้ตัว จากอาหารจานโปรดของเรา เพราะฉะนั้น...ถึงเวลาที่เราจะเริ่มกลับมาทานอาหารรสชาติจืดบ้าง ในครั้งแรกอาจจะรู้สึกว่าความอร่อยลดลงไปนิดนึง แต่สักพักถ้าเราชิน อาหารจืดๆ ก็จะอร่อยขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญการกินรสจืด จะช่วยให้ร่างกายลดภาระในการทำงาน เนื่องจากไม่ต้องกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถนำพลังงานไปขจัดสารอาหารที่เป็นส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ ไตก็ไม่ต้องทำงานหนัก จึงทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคเรื้อรัง

SukRobDan10


บทความที่เกี่ยวข้อง