Happy Talk
Life Spiration
Live And Learn
Eco-Living
Family In Love
Eat Am Are
Get Fit
Healthy Guide
Money Session
Live Offline
Happy Plus
Happy Life Club
BLA Product
Family In Love
ความสัมพันธ์พี่น้อง ประนีประนอมอย่างไรเมื่อมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
ช่วงโควิด-19 ถือได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการทดสอบความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัวอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และที่สำคัญคือระหว่างพี่กับน้อง เพราะการต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอันยาวนาน อาจจะทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จักและสัมผัสในทุก ๆ อิริยาบถของสมาชิกในครอบครัวตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นธรรมดาที่คน ๆ หนึ่งจะมีทั้งด้านที่เราชอบและด้านที่เราไม่ชอบรวมอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ตัวเราเองก็เช่นกัน บางด้านในตัวเรา ก็อาจจะไม่ได้เป็นที่ชอบพอของอีกฝ่ายก็เป็นได้ ในฐานะที่เราเป็นผู้ใหญ่เราอาจจะเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะโดยการปรับตัวเข้าหากัน หรือพูดคุยกันด้วยเหตุผล ถึงอย่างนั้นผู้ใหญ่อย่างเราก็มีวันที่ความอดทนไม่มากพอ ทะเลาะกับอีกฝ่ายอย่างง่ายดายได้เช่นกัน
ดังนั้นสำหรับเด็ก ๆ แล้ว ความอดทนอดกลั้น และความประนีประนอมนั้น ยังมีไม่มากเท่ากับผู้ใหญ่อย่างเราแน่นอน สำหรับพี่กับน้องที่ต้องอยู่ด้วยกันตลอดวันและระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้ อาจจะทำให้พวกเขาหงุดหงิดใส่กัน และขัดเเย้งกันง่ายขึ้น จนพ่อแม่อาจจะต้องลงไปทำหน้าที่เป็นกรรมการห้ามมวยคู่เอกของบ้านไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งในทางกลับกันช่วงเวลานี้อาจจะเป็นโอกาสที่ดีก็ได้ ที่พี่น้องหลาย ๆ คู่จะได้กลับมาสานสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งต่อกัน และรู้สึกดีต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม
และก่อนที่ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องจะงอกงามได้นั้น ต้องย้อนกลับไปสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพี่กับน้องเสียก่อน ซึ่งความสัมพันธ์ของพี่น้องนั้นอยู่ในกำมือของพ่อแม่อย่างเรา…
“สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ”
ควรมอบความรักกับลูกทุกคนอย่างเท่าเทียม
เด็กทุกคนล้วนต้องการความรักจากพ่อแม่ของพวกเขา ไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ จะมีฐานะเป็นพี่หรือเป็นน้องก็ตาม พ่อแม่ควรแสดงออกซึ่งความรักกับลูก ๆ อย่างเท่าเทียม ไม่ต้องเขินอาย เพราะแม้ลูกคนโตอาจจะบ่นว่า อย่ากอดเขาต่อหน้าคนอื่น เพราะเขาอาย แต่ในใจลึก ๆ เขายังต้องการความรักเช่นนี้เสมอ และยังคงต้องการตลอดไป
ควรมอบความยุติธรรมให้กับลูกทุกคน เมื่อพี่น้องทะเลาะกัน ไม่ควรด่วนตัดสินใคร
เมื่อพี่กับน้องทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่ควรตัดสินทันทีจากเหตุการณ์ที่เห็น และควรฟังความจากลูกทั้งสองคน ไม่ควรบอกให้คนพี่ต้องยอมคนน้อง เพราะน้องยังเล็กกว่าหรือคนน้องต้องยอมคนพี่ เพราะคนพี่โตกว่า ควรให้ลูกได้ผลัดกันพูด เมื่อลูกคนหนึ่งพูดอยู่ ก็ควรให้ลูกอีกคนฟังจนจบ ห้ามแทรก จากนั้นพ่อแม่ค่อยอธิบายและสอนว่า “ที่ถูกและเหมาะสมควรเป็นอย่างไร”
หากทราบชัดเจนว่า ใครเป็นคนผิด ให้เราพาลูกคนนั้นออกมาสอนด้านนอก เราไม่ควรอบรมสั่งสอนคนผิดต่อหน้าอีกฝ่าย เพราะจะทำให้เด็กที่ทำผิดรู้สึกอับอาย และอีกฝ่ายอาจจะมองว่า พ่อแม่เข้าข้างตน เมื่อสอนเสร็จให้จบลงที่การกอดเขา และสอนเขาให้ไปขอโทษ เมื่อขอโทษแล้ว พ่อแม่ควรสอนให้พี่น้องให้โอกาสและให้อภัยกัน
ในบางครั้งทั้งพี่และน้องต่างผิดด้วยกันทั้งคู่ หรืออาจจะไม่มีใครผิดเลยก็เป็นได้ เพราะความเข้าใจผิดกันนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น พ่อแม่สามารถสอนพี่น้องได้ว่า “ถ้าเรามัวแต่ทะเลาะกันแบบนี้ เวลาในการเล่นสนุกด้วยกันก็จะน้อยลงนะ เราขอโทษกันแล้วมาเล่นด้วยกันดีกว่า”
ควรมอบหมายภารกิจให้กับลูกทุกคนช่วยกันรับผิดชอบตามวัย
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งสำหรับพ่อแม่ที่ไม่ควรยึดติด คือ “พี่คนโตต้องรับผิดชอบและดูแลน้องทุกคน” ถ้าเขาได้เกิดมาเป็นลูกคนแรกของเรา และเป็นพี่คนโตของน้อง ๆ เราอาจไม่จำเป็นต้องมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ ให้เขารับผิดชอบมากกว่าคนอื่น
แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ เราควรให้งานที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เช่น คนน้องช่วยเช็ดโต๊ะ คนพี่ช่วยล้างจาน ให้เราเลือกงานให้เหมาะสมกับวัยของเขา ให้เขาช่วยทำงานคนละอย่าง หรือจะผลัดกันทำก็ได้ เช่น เมื่อวานคนพี่ล้างจานแล้ว วันนี้คนน้องล้างบ้าง เป็นต้น พ่อแม่ควรสร้างค่านิยมให้กับพี่น้องใหม่ว่า “ทำในสิ่งที่ตนทำได้ ช่วยกันคนละนิด ทำกันคนละอย่าง” นั่นคือสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่มีใครควรจะแบกรับภาระหน้าที่ไว้แค่เพียงคนเดียว ใครพร้อมมากกว่าควรช่วยในสิ่งที่ตนทำได้ ใครพร้อมน้อยกว่า ก็ช่วยในสิ่งที่ตนทำได้เช่นกัน
“สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ“
เปรียบเทียบพี่กับน้อง หรือ เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
ตัวอย่างคำพูดเชิงเปรียบเทียบ “ดูพี่ของลูกเป็นตัวอย่าง” “ทำไมไม่ว่าง่ายเหมือนน้องบ้าง” “ทำไมต่างจากพี่น้องคนอื่น” เป็นต้น และที่ลืมไม่ได้ คือ การให้คำชมลูกไม่เท่ากัน พ่อแม่อาจจะชื่นชมลูกคนใดคนหนึ่งมากเป็นพิเศษ ก็สามารถทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีได้เช่นกัน เช่น “พี่แกเก่งอย่างนั้น...อย่างนี้...” หรือ “น้องทำอันนี้ดีมากเลย ดูสิ"
แม้ว่า เราจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หากพ่อแม่ทำกับเราเช่นนี้ บางครั้งยังแอบเก็บมาน้อยใจลึก ๆ เลย ถ้าเป็นเด็ก เขาจะรู้สึกขนาดไหน แม้จะไม่พูดออกมา ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รับรู้หรือไม่รู้สึก
เด็กทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นตัวเขาเอง เขามีส่วนที่ดีและส่วนที่เขาอาจจะไม่ได้ดีเท่ากับคนอื่น พ่อแม่จึงควรรักและยอมรับในตัวตนที่ลูกแต่ละคนเป็นอย่างปราศจากเงื่อนไข
คนพี่ต้องรักน้อง เสียสละให้น้องและยอมน้อง
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เห็นในหลาย ๆ ครอบครัว คือ พ่อแม่มักบอกให้คนพี่ต้องแบ่งปันและเสียสละของ ๆ ตนเองให้กับคนน้อง
“ของ ๆ เขา ก็คือ ของ ๆ เขา” ถ้าเราซื้อของอะไรให้ลูกแต่ละคน แล้วบอกว่า “นั่นคือของ ๆ เขา” นั่นแปลว่า ถ้าพี่หรือน้องมาแย่งของเขาไปเล่น อย่าบอกเจ้าของว่า “ให้แบ่งปัน ยอม ๆ พี่หรือน้องบ้าง” เพราะเขาจะรู้สึกว่า ไม่มีของ ๆ เขาที่แท้จริง ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองไม่สามารถรักษาสิทธิ์ที่ตนพึงได้รับได้ ตนเองต้องยอมพ่อแม่และพี่น้อง เขาจะท้อ จนไม่อยากปกป้องสิทธิ์ของตนเองอีก ใครจะขอ ใครจะทำอะไร เขาจะยอม ๆ ไป แม้ใจไม่อยากก็ตาม หรือเด็กบางคนจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ เขาจะหวงของมาก เขาจะแอบเล่นของชิ้นนั้นเพื่อไม่ให้ใครมาแย่งของ ๆ เขาไป ที่สำคัญเขาจะมองว่า ผู้ใหญ่ คือ ศัตรูของเขาในเรื่องนี้ เพราะพ่อแม่เป็นคนบังคับให้เขาต้องแบ่งของ ๆ เขาให้พี่น้องคนอื่น
ดังนั้นสำหรับเด็ก ๆ แล้ว ความอดทนอดกลั้น และความประนีประนอมนั้น ยังมีไม่มากเท่ากับผู้ใหญ่อย่างเราแน่นอน สำหรับพี่กับน้องที่ต้องอยู่ด้วยกันตลอดวันและระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้ อาจจะทำให้พวกเขาหงุดหงิดใส่กัน และขัดเเย้งกันง่ายขึ้น จนพ่อแม่อาจจะต้องลงไปทำหน้าที่เป็นกรรมการห้ามมวยคู่เอกของบ้านไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งในทางกลับกันช่วงเวลานี้อาจจะเป็นโอกาสที่ดีก็ได้ ที่พี่น้องหลาย ๆ คู่จะได้กลับมาสานสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งต่อกัน และรู้สึกดีต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม
และก่อนที่ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องจะงอกงามได้นั้น ต้องย้อนกลับไปสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพี่กับน้องเสียก่อน ซึ่งความสัมพันธ์ของพี่น้องนั้นอยู่ในกำมือของพ่อแม่อย่างเรา…
“สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ”
ควรมอบความรักกับลูกทุกคนอย่างเท่าเทียม
เด็กทุกคนล้วนต้องการความรักจากพ่อแม่ของพวกเขา ไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ จะมีฐานะเป็นพี่หรือเป็นน้องก็ตาม พ่อแม่ควรแสดงออกซึ่งความรักกับลูก ๆ อย่างเท่าเทียม ไม่ต้องเขินอาย เพราะแม้ลูกคนโตอาจจะบ่นว่า อย่ากอดเขาต่อหน้าคนอื่น เพราะเขาอาย แต่ในใจลึก ๆ เขายังต้องการความรักเช่นนี้เสมอ และยังคงต้องการตลอดไป
ควรมอบความยุติธรรมให้กับลูกทุกคน เมื่อพี่น้องทะเลาะกัน ไม่ควรด่วนตัดสินใคร
เมื่อพี่กับน้องทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่ควรตัดสินทันทีจากเหตุการณ์ที่เห็น และควรฟังความจากลูกทั้งสองคน ไม่ควรบอกให้คนพี่ต้องยอมคนน้อง เพราะน้องยังเล็กกว่าหรือคนน้องต้องยอมคนพี่ เพราะคนพี่โตกว่า ควรให้ลูกได้ผลัดกันพูด เมื่อลูกคนหนึ่งพูดอยู่ ก็ควรให้ลูกอีกคนฟังจนจบ ห้ามแทรก จากนั้นพ่อแม่ค่อยอธิบายและสอนว่า “ที่ถูกและเหมาะสมควรเป็นอย่างไร”
หากทราบชัดเจนว่า ใครเป็นคนผิด ให้เราพาลูกคนนั้นออกมาสอนด้านนอก เราไม่ควรอบรมสั่งสอนคนผิดต่อหน้าอีกฝ่าย เพราะจะทำให้เด็กที่ทำผิดรู้สึกอับอาย และอีกฝ่ายอาจจะมองว่า พ่อแม่เข้าข้างตน เมื่อสอนเสร็จให้จบลงที่การกอดเขา และสอนเขาให้ไปขอโทษ เมื่อขอโทษแล้ว พ่อแม่ควรสอนให้พี่น้องให้โอกาสและให้อภัยกัน
ในบางครั้งทั้งพี่และน้องต่างผิดด้วยกันทั้งคู่ หรืออาจจะไม่มีใครผิดเลยก็เป็นได้ เพราะความเข้าใจผิดกันนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น พ่อแม่สามารถสอนพี่น้องได้ว่า “ถ้าเรามัวแต่ทะเลาะกันแบบนี้ เวลาในการเล่นสนุกด้วยกันก็จะน้อยลงนะ เราขอโทษกันแล้วมาเล่นด้วยกันดีกว่า”
ควรมอบหมายภารกิจให้กับลูกทุกคนช่วยกันรับผิดชอบตามวัย
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งสำหรับพ่อแม่ที่ไม่ควรยึดติด คือ “พี่คนโตต้องรับผิดชอบและดูแลน้องทุกคน” ถ้าเขาได้เกิดมาเป็นลูกคนแรกของเรา และเป็นพี่คนโตของน้อง ๆ เราอาจไม่จำเป็นต้องมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ ให้เขารับผิดชอบมากกว่าคนอื่น
แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ เราควรให้งานที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เช่น คนน้องช่วยเช็ดโต๊ะ คนพี่ช่วยล้างจาน ให้เราเลือกงานให้เหมาะสมกับวัยของเขา ให้เขาช่วยทำงานคนละอย่าง หรือจะผลัดกันทำก็ได้ เช่น เมื่อวานคนพี่ล้างจานแล้ว วันนี้คนน้องล้างบ้าง เป็นต้น พ่อแม่ควรสร้างค่านิยมให้กับพี่น้องใหม่ว่า “ทำในสิ่งที่ตนทำได้ ช่วยกันคนละนิด ทำกันคนละอย่าง” นั่นคือสิ่งที่ควรจะเป็น ไม่มีใครควรจะแบกรับภาระหน้าที่ไว้แค่เพียงคนเดียว ใครพร้อมมากกว่าควรช่วยในสิ่งที่ตนทำได้ ใครพร้อมน้อยกว่า ก็ช่วยในสิ่งที่ตนทำได้เช่นกัน
“สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ“
เปรียบเทียบพี่กับน้อง หรือ เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
ตัวอย่างคำพูดเชิงเปรียบเทียบ “ดูพี่ของลูกเป็นตัวอย่าง” “ทำไมไม่ว่าง่ายเหมือนน้องบ้าง” “ทำไมต่างจากพี่น้องคนอื่น” เป็นต้น และที่ลืมไม่ได้ คือ การให้คำชมลูกไม่เท่ากัน พ่อแม่อาจจะชื่นชมลูกคนใดคนหนึ่งมากเป็นพิเศษ ก็สามารถทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีได้เช่นกัน เช่น “พี่แกเก่งอย่างนั้น...อย่างนี้...” หรือ “น้องทำอันนี้ดีมากเลย ดูสิ"
แม้ว่า เราจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หากพ่อแม่ทำกับเราเช่นนี้ บางครั้งยังแอบเก็บมาน้อยใจลึก ๆ เลย ถ้าเป็นเด็ก เขาจะรู้สึกขนาดไหน แม้จะไม่พูดออกมา ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รับรู้หรือไม่รู้สึก
เด็กทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นตัวเขาเอง เขามีส่วนที่ดีและส่วนที่เขาอาจจะไม่ได้ดีเท่ากับคนอื่น พ่อแม่จึงควรรักและยอมรับในตัวตนที่ลูกแต่ละคนเป็นอย่างปราศจากเงื่อนไข
คนพี่ต้องรักน้อง เสียสละให้น้องและยอมน้อง
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เห็นในหลาย ๆ ครอบครัว คือ พ่อแม่มักบอกให้คนพี่ต้องแบ่งปันและเสียสละของ ๆ ตนเองให้กับคนน้อง
“ของ ๆ เขา ก็คือ ของ ๆ เขา” ถ้าเราซื้อของอะไรให้ลูกแต่ละคน แล้วบอกว่า “นั่นคือของ ๆ เขา” นั่นแปลว่า ถ้าพี่หรือน้องมาแย่งของเขาไปเล่น อย่าบอกเจ้าของว่า “ให้แบ่งปัน ยอม ๆ พี่หรือน้องบ้าง” เพราะเขาจะรู้สึกว่า ไม่มีของ ๆ เขาที่แท้จริง ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองไม่สามารถรักษาสิทธิ์ที่ตนพึงได้รับได้ ตนเองต้องยอมพ่อแม่และพี่น้อง เขาจะท้อ จนไม่อยากปกป้องสิทธิ์ของตนเองอีก ใครจะขอ ใครจะทำอะไร เขาจะยอม ๆ ไป แม้ใจไม่อยากก็ตาม หรือเด็กบางคนจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ เขาจะหวงของมาก เขาจะแอบเล่นของชิ้นนั้นเพื่อไม่ให้ใครมาแย่งของ ๆ เขาไป ที่สำคัญเขาจะมองว่า ผู้ใหญ่ คือ ศัตรูของเขาในเรื่องนี้ เพราะพ่อแม่เป็นคนบังคับให้เขาต้องแบ่งของ ๆ เขาให้พี่น้องคนอื่น
CONTRIBUTOR
BLA Happy Life Team