เป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจกรรมของบริษัทที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบ ทำให้เกิดหรือเพิ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยส่งเสริมการทำธุรกรรมแบบไร้กระดาษ ด้วยการจัดทำแผนงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทเพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ได้แก่ ลดการใช้กระดาษ ด้วยการลดการพิมพ์เอกสารเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษและปริมาณคาร์บอน โดยจัดทำแผนการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริษัท ในการดำเนินกิจกรรมด้านกรมธรรม์ในทุกกระบวนการตลอดระยะเวลาของสัญญาประกันภัย ประกอบด้วย ระบบรับประกันภัยแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริการกรมธรรม์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการอบรมออนไลน์ของพนักงาน ตัวแทนประกันชีวิตและที่่ปรึกษาการเงิน นายหน้าประกันชีวิต และผู้แนะนำหน่วยลงทุน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับช่องทางสื่อสารออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนบริษัทสู่เป้าหมายระยะยาวในการทำธุรกรรมแบบไร้กระดาษ และเพื่อสนับสนุนความร่วมมือใน การปกป้องระบบนิเวศ และลดภาวะโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการกำหนดนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Carbon เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการมีส่วนร่วม และรับทราบผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
1. เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของบริษัทอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม จึงมุ่งมั่นบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและผลักดันการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรณรงค์และกระตุ้นให้ทุกพนักงานในองค์กรให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีแนวทางในการบริการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- บริษัทจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาคารสำนักงานใหญ่ โดยได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปี 2564 เป็นปีแรก (ปีฐาน) ทั้งนี้การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริษัทมีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่า และมีการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโดยหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และได้รับการประกาศขึ้น ทะเบียน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565
3. ผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลการดำเนินงาน | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1* (tCO2e) | 477 | 475 | 461 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2** (tCO2e) | 1,460 | 1,349 | 1,175 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3*** (tCO2e) | 916 | 329 | 803 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1+2 (tCO2e) | 1,937 | 1,824 | 1,636 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1+2+3 (tCO2e) | 2,853 | 2,153 | 2,439 |
Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2) (tCO2e/m2) | 0.049 | 0.046 | 0.041 |
Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2+3) (tCO2e/m2) | 0.072 | 0.054 | 0.062 |
หมายเหตุ
* ขอบเขตที่ 1: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
** ขอบเขตที่ 2: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น
*** ขอบเขตที่ 3: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
4. กราฟผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1* (tCO2e)

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2** (tCO2e)

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3*** (tCO2e)

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่1+2 (tCO2e)
tCO2e หมายถึง ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า