​​
 

อาการเจ็บหน้าอกแบบแน่น ๆ ที่บริเวณหน้าอกด้านซ้ายค่อนมาตรงกลาง อาจเป็นอาการที่มักพบเจอได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่อาการแบบนี้ก็ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่านี่คืออาการของโรคหัวใจแบบ 100% เพราะบริเวณหน้าอกด้านซ้ายค่อนมาตรงกลาง นอกจากจะเป็นตำแหน่งของหัวใจแล้ว ยังมีกล้ามเนื้อหัวใจ กระดูกซี่โครงอ่อน และเส้นประสาท บางครั้งเพียงแค่ทรงตัวผิดท่า ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณนี้ขึ้นมาได้เช่นกัน


​  

โรคเหล่านี้ก็สามารถมีอาการเจ็บหน้าอกได้

อย่างที่กล่าวไปว่าอาการเจ็บหน้าอก อาจไม่ใช่อาการของโรคหัวใจเสมอไป แต่ยังมีโรคอื่น ๆ ที่สามารถทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น

  • โรคกรดไหลย้อน โดยอาการปวดจะมีตั้งแต่ปวดบีบ ๆ หรือบิดที่หน้าอก ร้อนหน้าอก โดยมักเป็นที่กลางอก และอาจมีร้าวไปที่หลัง คอ กราม หรือแขนได้
  • ลิ่มเลือดอุดตันในปอด ผู้ป่วยมักจะหายใจหอบ เหนื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก ผู้ป่วยอาจมีอาการแย่ลงในขณะที่หายใจเข้าลึก ๆ เมื่อไอ รับประทานอาหาร ตอนที่โค้งหรืองอตัว อีกทั้งอาการจะแย่ลง เมื่อมีการออกแรง และอาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายไป แม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • การอักเสบของตับอ่อน ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกส่วนล่าง โดยจะเกิดอาการเมื่อนอนราบ และดีขึ้นเมื่อนั่งเอนตัวไปข้างหน้า
  • โรคหอบ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยมีอาการร่วม คือ หายใจลำบาก หายใจเป็นเสียงหวีด คล้ายหายใจไม่ออก และมีอาการไอ
  • การบาดเจ็บของกระดูกซี่โครง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ บวม ตึงรอบ ๆ ซี่โครง และจะรู้สึกเจ็บมากเมื่อนอนหงาย หายใจลึก ไอ หรือจาม
  • กระดูกหัก ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ จะรู้สึกเจ็บขณะไอหรือหัวเราะ และอาจรู้สึกเจ็บเมื่ออยู่ในท่าก้ม บิด หรืองอตัว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ที่สังเกตได้ เช่น อาการบวมในบริเวณจุดที่มีกระดูกซี่โครงหัก เกิดรอยช้ำที่ผิวหนัง เป็นต้น

สัญญาณเตือนโรคหัวใจมีอะไรบ้าง

  • เจ็บหน้าอก ลักษณะของอาการจะรู้สึกแน่น จุก เหมือนมีวัตถุกดทับที่บริเวณหน้าอก บางรายอาจมีอาการร้าวไปยังแขน
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว จนอาจทำให้พูดไม่ได้ หรือมีเสียงดังเวลาหายใจ
  • มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยอาจเกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอก หน้ามืด หรือเป็นลม
  • ขาบวม เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก
  • หน้ามืด เป็นลม โดยในขณะนั้นอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

วิธีตรวจว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่

  • แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย
  • แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทั่วไปทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต
  • ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)

​  

โรคหัวใจมีอาการอย่างไร?

หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • เหนื่อย แน่นหน้าอก และเจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากที่สุด
  • นั่งพักแล้วอาการที่กล่าวมายังไม่ดีขึ้น และเป็นมากขึ้น
  • กรณีผู้ป่วยโรคหัวใจใช้ยาอมใต้ลิ้น แต่อาการไม่ดีขึ้น
  • มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น และหายใจไม่เต็มที่

​  

การตรวจสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ การตรวจสุขภาพเป็นประจำลดความเสี่ยงการเกิดโรค จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้เร็วที่สุด จะได้ป้องกันหรือรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพิ่มความอุ่นใจกับสิทธิประโยชน์ส่วนลดในการตรวจสุขภาพ BLA Healthy Plus กับโปรแกรมตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ กรุงเทพประกันชีวิตพร้อมเคียงข้างคุณไม่ว่าที่ไหน ไม่ว่าเมื่อไหร่ ด้วยสิทธิพิเศษด้านสุขภาพมากมาย เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการได้ที่นี่


บทความที่เกี่ยวข้อง