Happy Talk
Life Spiration
Live And Learn
Eco-Living
Family In Love
Eat Am Are
Get Fit
Healthy Guide
Money Session
Live Offline
Happy Plus
Happy Life Club
BLA Product
article image
Eat Am Are

ไม่ง้อโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพราะทานเมนูผักแทนได้
โปรตีนเท่ากันแต่แคลน้อยกว่า วิถีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ถ้าไม่กินเนื้อสัตว์ จะเอาโปรตีนมาจากไหน?

เวลาพูดถึงโปรตีน ใคร ๆ ก็มักจะนึกถึงเนื้อสัตว์ เพราะมันคือหนึ่งในสารอาหาร 5 หมู่ ที่เรียนมาและร่างกายควรได้รับ แต่สำหรับสายสุขภาพที่อยากงดการทานเนื้อสัตว์ สามารถรับสารอาหารประเภทโปรตีนจากพืชผักทดแทนได้ ที่สำคัญคือการทานโปรตีนจากพืชผักทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น และยังลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ได้อีกด้วย

ความแตกต่างของโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืชผัก
โปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนสมบูรณ์ มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการครบถ้วน แต่โปรตีนจากพืชผักส่วนใหญ่เป็นโปรตีนไม่สมบูรณ์ มีชนิดและปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ครบถ้วน แต่สามารถทาน ควินัว (Quinoa) และถั่วเหลือง เพิ่มเติมได้เพราะเป็นพืชผักที่มีโปรตีนที่สมบูรณ์

และต่อไปนี้คือ 4 เมนูแนะนำ สำหรับคนที่คิดไม่ออกว่าจะเริ่มต้นทานผักเพื่อรับโปรตีนจากเมนูอะไรดี

1. ผัดบรอกโคลีเห็ดหอม (บรอกโคลีดิบ 91 กรัม ให้โปรตีน 2.6 กรัม)



2. เส้นหมี่ผัดซีอิ้วเต้าหู้ทอด (เต้าหู้ 100 กรัม ให้โปรตีน 8 กรัม)



3. ผัดถั่วลันเตา (ถั่วลันเตา 100 กรัม ให้โปรตีน 8 กรัม)



4. สลัดเมล็ดเจีย (เมล็ดเจีย 1 ช้อนโต๊ะ ให้โปรตีน 3 กรัม)



นอกจากนั้นยังมีพืชผักอีกหลายชนิดที่ให้โปรตีนสูง สามารถทานทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้



Plant Based Food ขั้นสุดของการรับโปรตีนจากพืชผัก
สำหรับคนที่แอดวานซ์เทรนด์การทาน Plant Based Food คือขั้นกว่าของการรับสารอาหารประเภทโปรตีนจากการทานพืชผัก เพราะเป็นการทานเฉพาะอาหารที่ทำมาจากพืช โดยผสมผสานสารอาหารที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายมากที่สุด โดยเน้นไปที่การกินพืชผักและผลไม้เป็นหลัก แต่พืชผักและผลไม้ที่ว่าต้องไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็น การสกัด การขัดสี หรือการแปรรูป
 
สำหรับการทานอาหารเพื่อรับโปรตีนจากพืชผักแทนการรับจากเนื้อสัตว์นั้น ถือเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ เพราะอาหารการกินคือปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย วิธีที่ดีที่สุดคือเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการกิน แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทำบนพื้นฐานของความพอดี เพราะจะทำให้เกิดเป็นความต่อเนื่องจนกลายเป็นการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

CONTRIBUTOR

BLA Happy Life Team

เรื่องต่อไป

อ่านเรื่องราวทั้งหมด