สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ แบบมาตรฐาน

ทำไมจะต้องมีการปรับปรุงสัญญาประกันภัยสุขภาพ?

เพื่อให้สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันชีวิตมีมาตรฐานเดียวกัน และมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี วิธีการรักษาทางการแพทย์ และวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 56/2562 ต่อมาปรับแก้ไขเป็น คำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความ สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ ประเภทสามัญ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 7 เมษายน 2564 และคำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
 
เนื้อหาในคำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564 กำหนดเนื้อหาการปรับใช้และการจัดทำแบบและข้อความสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ ประเภทสามัญ แบบมาตรฐาน สำหรับบริษัทประกันชีวิต ซึ่งกำหนดไว้ทั้ง คำนิยาม ตารางผลประโยชน์ ข้อตกลงความคุ้มครอง ข้อกำหนดทั่วไป และข้อยกเว้นทั่วไป โดยจะถูกนำมาใช้กับแบบประกันสุขภาพแบบใหม่ที่จะเสนอขาย ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
 

สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพมาตรฐานใหม่ มีข้อกำหนดที่แตกต่างจากสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ (เดิม) อาทิ

หัวข้อ สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพแบบมาตรฐาน สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพฉบับเดิม เหตุผล
คำนิยาม
เพิ่มนิยาม
  1. ฉ้อฉลประกันภัย
  2. การป่วย
  3. แพทย์เฉพาะทาง
  4. การผ่าตัดใหญ่
  5. การผ่าตัดเล็ก
  6. การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องพักรักษาต้วเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery)
เดิมไม่มีนิยาม ที่กำหนดเพิ่มมา
การเพิ่มเติมนิยามต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ตลอดจนวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น
ตารางผลประโยชน์ 13 หมวดผลประโยชน์ สูงสุด 8 หมวดผลประโยชน์ กำหนดหมวดผลประโยชน์ให้เหมือนกันทั้งธุรกิจ เพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ในการเปรียบเทียบความคุ้มครอง
ข้อตกลงความคุ้มครอง
  1. ค่าธรรมเนียมแพทย์ในการศัลยกรรมและหัตถการ ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภาประเทศไทยที่มีผลใช้คุ้มครองขณะทำการผ่าตัด
  2. การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Surgery)  ไม่ได้ระบุจำนวนหัตถการ แต่กำหนดนิยามการผ่าตัดที่เข้าเกณฑ์นี้
  1. ค่าธรรมเนียมแพทย์ในการศัลยกรรมและหัตถการ กำหนดวงเงินคุ้มครอง ตามความจำเป็นทางการแพทย์
  2. การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Surgery) กำหนด ชื่อและจำนวน 21 หัตถการ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งธุรกิจประกันชีวิต
ข้อกำหนดทั่วไป
  1. เพิ่มเงื่อนไขการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม ขั้นต่ำจนถึงอายุ 69 ปี
  2. เงื่อนไขการไม่ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม 3 กรณี และเพิ่มเงื่อนไขการต่ออายุแบบมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) กำหนดไม่เกิน 30%ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครอง และปรับลดเบี้ยประกันภัยตามส่วน
  3. การปรับเบี้ยประกันภัย ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย
  • อายุและชั้นอาชีพของแต่ละบุคคล
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น หรือจากประสบการณ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยรวมของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ทั้งนี้เบี้ยประกันภัยที่มีการปรับจะต้องอยู่ในอัตราที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว
  1. บางแบบประกัน กำหนดไว้ที่ ขั้นต่ำ จนถึงอายุ 60 ปี
  2. เงื่อนไขการไม่ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับบริษัทกำหนด
  3. กำหนดตามอายุ และชั้นอาชีพของแต่ละบุคคล โดยผ่านการอนุมัติจากคปภ.แล้ว
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งธุรกิจประกันชีวิต
ข้อยกเว้นทั่วไป
จำนวน 21 ข้อ 
จำนวน 26 ข้อ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งธุรกิจประกันชีวิต
 

เงื่อนไขสาระที่สำคัญโดยสังเขป

1. สัญญาเพิ่มเติมนี้เป็นสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี
2. สัญญาเพิ่มเติมนี้ จะต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ (Renewal) เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจะสงวนสิทธิไม่ต่ออายุสัญญาเพิ่มเติม
  • ในกรณีที่มีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยไม่แถลงข้อความจริงตามใบคำขอเอาประกันภัยหรือคำขอต่ออายุ (Reinstatement) ใบแถลงสุขภาพ และข้อแถลงเพิ่มเติมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่อาจทำให้บริษัทเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่รับทำสัญญา หรือรับประกันภัยแบบมีเงื่อนไข
  • ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องผลประโยชน์จากการที่ตนให้มีการรักษาการบาดเจ็บหรือการป่วยโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์
  • ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องผลประโยชน์ค่าชดเชยจากการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรวมกันทุกบริษัทเกินกว่ารายได้ที่แท้จริง
3. ระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย 60 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
4. กรณีที่บริษัทจะไม่คุ้มครอง เนื่องจาก
  • ผู้เอาประกันภัยฉ้อฉลประกันภัย
  • การป่วยที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง (Waiting period) 30 วัน นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ หรือวันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มผลประโยชน์ของสัญญาเพิ่มเติมนี้ แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นภายหลัง หรือ
  •  การป่วยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 120 วัน นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ หรือวันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มผลประโยชน์ของ      สัญญาเพิ่มเติมนี้ แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นภายหลัง
    • เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
    • ริดสีดวงทวาร
    • ไส้เลื่อนทุกชนิด
    • ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
    • การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
    • นิ่วทุกชนิด
    • เส้นเลือดขอดที่ขา
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition) เว้นแต่
    • ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัย โดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว หรือ
    • โรคเรื้อรัง การบาดเจ็บ หรือการป่วย (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) นั้น ไม่ปรากฏอาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษาหรือวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือไม่ได้พบหรือปรึกษาแพทย์ ในระยะ 5 ปีก่อนวันที่สัญญาเพิ่มเติมเริ่มมีผลคุ้มครองเป็นครั้งแรก และในช่วงเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมนี้เริ่มมีผลคุ้มครองเป็นครั้งแรก
  • ข้อยกเว้นทั่วไป ตามที่ระบุในสัญญาเพิ่มเติมนี้ เช่น ภาวะที่เป็นผลจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด การตรวจรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างทดลอง การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก (รวมถึงการสืบวิเคราะห์และการรักษา) การพักฟื้น หรือการพักเพื่อการฟื้นฟู หรือการรักษาโดยวิธีให้พักอยู่เฉยๆ เป็นต้น
  • การยกเว้น หรือการไม่คุ้มครองใดๆ ตามที่ระบุไว้ในแต่ละข้อตกลงคุ้มครอง 
ข้อความนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญ เงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้น บางส่วนเท่านั้น ท่านสามารถศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดตาม คำสั่งนายทะเบียนที่ 14/2564
×

Please use the contact form below.
We'll get back to you as quickly as possible.