ปวดหลังแบบไหน…อันตราย

“ปวดหลังแบบนี้...ไหวมั้ย?” หลาย ๆ คนคุ้นเคยดีกับอาการปวดหลังที่มักจะมาเยือนเป็นประจำ นั่งทำงานนาน ๆ ก็ปวด...ออกกำลังกายก็ปวด...บางทีอยู่เฉย ๆ ก็ยังปวด! มาเช็คกันหน่อยว่าอาการของคุณเป็นแบบไหน แล้วปวดหลังแบบไหนนะที่เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง?
 

ปวดตรงนี้...เกิดจากอะไร

1.ปวดตามแนวกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะบริเวณกลางหลัง
สาเหตุ : การยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ หรือมนุษย์ออฟฟิศนังทำงานติดโต๊ะด้วยท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
 
2. ปวดหลังช่วงบน ใกล้ไหล่ ลำคอ ท้ายทอย กล้ามเนื้อช่วงหลังตอนบน
สาเหตุ : ท่านั่งไม่เหมาะสม ระดับของโต๊ะ เก้าอี้ ไม่สัมพันธ์กับสรีระร่างกาย
 
3. ปวดกล้ามเนื้อหลังช่วงกลาง ด้านซ้าย-ขวา
สาเหตุ : อุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา การขยับร่างกายผิดท่าในจังหวะอันรวดเร็วจนเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ

4. ปวดหลังช่วงล่างตั้งแต่ระดับสะดือลงไป อาจจะยาวไปจนถึงสะโพก หรือต้นขา
สาเหตุ : อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ใช้หลังมาก โรคกระดูกพรุน หญิงที่ตั้งครรภ์ก็จะมีอาการปวดบริเวณนี้จากการรับน้ำหนักของบุตรในครรภ์

5. ปวดหลังบริเวณเอว ค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย
สาเหตุ : ยกของหนักเป็นเวลานาน การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากๆ รวมไปถึงสภาพจิตใจซึมเศร้าที่ส่งผลถึงต่อความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
 

แล้วอาการปวดหลังแบบไหน อันตราย?

หากสาเหตุของอาการปวดนั้นมาจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากจนอักเสบ การหยุดพัก หรือทายาก็สามารถช่วยลดอาการ และค่อย ๆ หายเองได้ แต่ถ้ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติอย่างละเอียด
  • มีอาการปวดที่เดิม ๆ อย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์
  • ปวดมากจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ อาการไม่ทุเลาลง
  • ปวดแบบเจ็บแปลบจิ๊ดๆ เหมือนเข็มจิ้ม
  • ปวดร้าวยาวลงไปจนถึงต้นขา จนอาจมีอาการขาอ่อนแรง ปวดปลีน่อง จนทำให้เดินลำบาก หรือเดินได้นิดหน่อยก็ปวด
  • ปวดบริเวณก้นกบ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
  • มีอาการปวดปัสสาวะแสบขัด มีสีขุ่น หรือมีไข้ ร่วมกับอาการปวดหลังบริเวณเอว (อาจเป็นอาการเริ่มต้นของอาการนิ่วในไต หรือไตอักเสบ)
  • ปวดจนขา หรือเท้ามีอาการชา
  • เคลื่อนไหวอย่างอิสระไม่ได้ เช่น ก้มตัว ยืดตัวตรง
  • กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเริ่มไม่ค่อยอยู่
 ปวดหลังอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ พักสักหน่อยเดี๋ยวก็หาย แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดี ค้นหาสาเหตุเพื่อปรับพฤติกรรม หรือละเลยที่จะรักษาเมื่อเป็นต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ จากเรื่องเล็ก ๆ ก็อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังที่มีอันตรายกว่าที่คิด
 

ปวดหลัง...ไม่ต้องเครียดให้ปวดหัว

ด้วย 3 บริการเสริมด้านสุขภาพสำหรับลูกค้ากรุงเทพประกันชีวิต ที่พร้อมดูแลคุณเป็นพิเศษทุกช่วงเวลา ​​
  • BLA Health Partner : บริการศูนย์ข้อมูลสุขภาพ เพียงคุณส่งคำถามสุขภาพที่สงสัย เพื่อนซี้สุขภาพพร้อมให้คำแนะนำด้านการรักษาที่ตรงกับความต้องการของคุณ เช็คสิทธิ์และใช้บริการได้ที่นี่ >> https://bit.ly/BLA-HealthPartner
  • Telemed Plus : บริการพบแพทย์ออนไลน์ อยากปรึกษาหมอแต่ไม่สะดวกเดินทาง สามารถใช้บริการได้ผ่านออนไลน์ พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน สามารถเบิกเคลมได้ตามสิทธิ์ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก >> https://bit.ly/BLA-TelemedPlus
  • 2nd Opinion Consultation : บริการความเห็นที่สองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษากระดูกและข้อจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รับบริการได้ฟรี 1 ครั้ง >> https://bit.ly/BLA-2ndOpinion

We use cookies on our website to give the best experience including to purpose information and other contents. Using our website means you accept Terms and Conditions Privacy Notice and Cookies Policy.