ปวดหลังแบบไหน…อันตราย

“ปวดหลังแบบนี้...ไหวมั้ย?” หลาย ๆ คนคุ้นเคยดีกับอาการปวดหลังที่มักจะมาเยือนเป็นประจำ นั่งทำงานนาน ๆ ก็ปวด...ออกกำลังกายก็ปวด...บางทีอยู่เฉย ๆ ก็ยังปวด! มาเช็คกันหน่อยว่าอาการของคุณเป็นแบบไหน แล้วปวดหลังแบบไหนนะที่เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง?
 

ปวดตรงนี้...เกิดจากอะไร

1.ปวดตามแนวกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะบริเวณกลางหลัง
สาเหตุ : การยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ หรือมนุษย์ออฟฟิศนังทำงานติดโต๊ะด้วยท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
 
2. ปวดหลังช่วงบน ใกล้ไหล่ ลำคอ ท้ายทอย กล้ามเนื้อช่วงหลังตอนบน
สาเหตุ : ท่านั่งไม่เหมาะสม ระดับของโต๊ะ เก้าอี้ ไม่สัมพันธ์กับสรีระร่างกาย
 
3. ปวดกล้ามเนื้อหลังช่วงกลาง ด้านซ้าย-ขวา
สาเหตุ : อุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา การขยับร่างกายผิดท่าในจังหวะอันรวดเร็วจนเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ

4. ปวดหลังช่วงล่างตั้งแต่ระดับสะดือลงไป อาจจะยาวไปจนถึงสะโพก หรือต้นขา
สาเหตุ : อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย นั่งๆ นอนๆ ทั้งวัน ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ใช้หลังมาก โรคกระดูกพรุน หญิงที่ตั้งครรภ์ก็จะมีอาการปวดบริเวณนี้จากการรับน้ำหนักของบุตรในครรภ์

5. ปวดหลังบริเวณเอว ค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย
สาเหตุ : ยกของหนักเป็นเวลานาน การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากๆ รวมไปถึงสภาพจิตใจซึมเศร้าที่ส่งผลถึงต่อความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
 

แล้วอาการปวดหลังแบบไหน อันตราย?

หากสาเหตุของอาการปวดนั้นมาจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากจนอักเสบ การหยุดพัก หรือทายาก็สามารถช่วยลดอาการ และค่อย ๆ หายเองได้ แต่ถ้ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติอย่างละเอียด
  • มีอาการปวดที่เดิม ๆ อย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์
  • ปวดมากจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ อาการไม่ทุเลาลง
  • ปวดแบบเจ็บแปลบจิ๊ดๆ เหมือนเข็มจิ้ม
  • ปวดร้าวยาวลงไปจนถึงต้นขา จนอาจมีอาการขาอ่อนแรง ปวดปลีน่อง จนทำให้เดินลำบาก หรือเดินได้นิดหน่อยก็ปวด
  • ปวดบริเวณก้นกบ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
  • มีอาการปวดปัสสาวะแสบขัด มีสีขุ่น หรือมีไข้ ร่วมกับอาการปวดหลังบริเวณเอว (อาจเป็นอาการเริ่มต้นของอาการนิ่วในไต หรือไตอักเสบ)
  • ปวดจนขา หรือเท้ามีอาการชา
  • เคลื่อนไหวอย่างอิสระไม่ได้ เช่น ก้มตัว ยืดตัวตรง
  • กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเริ่มไม่ค่อยอยู่
 ปวดหลังอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ พักสักหน่อยเดี๋ยวก็หาย แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดี ค้นหาสาเหตุเพื่อปรับพฤติกรรม หรือละเลยที่จะรักษาเมื่อเป็นต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ จากเรื่องเล็ก ๆ ก็อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังที่มีอันตรายกว่าที่คิด
 

ปวดหลัง...ไม่ต้องเครียดให้ปวดหัว

ด้วย 3 บริการเสริมด้านสุขภาพสำหรับลูกค้ากรุงเทพประกันชีวิต ที่พร้อมดูแลคุณเป็นพิเศษทุกช่วงเวลา ​​
  • BLA Health Partner : บริการศูนย์ข้อมูลสุขภาพ เพียงคุณส่งคำถามสุขภาพที่สงสัย เพื่อนซี้สุขภาพพร้อมให้คำแนะนำด้านการรักษาที่ตรงกับความต้องการของคุณ เช็คสิทธิ์และใช้บริการได้ที่นี่ >> https://bit.ly/BLA-HealthPartner
  • Telemed Plus : บริการพบแพทย์ออนไลน์ อยากปรึกษาหมอแต่ไม่สะดวกเดินทาง สามารถใช้บริการได้ผ่านออนไลน์ พร้อมจัดส่งยาถึงบ้าน สามารถเบิกเคลมได้ตามสิทธิ์ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก >> https://bit.ly/BLA-TelemedPlus
  • 2nd Opinion Consultation : บริการความเห็นที่สองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษากระดูกและข้อจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รับบริการได้ฟรี 1 ครั้ง >> https://bit.ly/BLA-2ndOpinion
×

ฝากข้อความไว้ให้เราติดต่อกลับ