• คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคัดเลือกจากกรรมการอิสระ ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบต้องประกอบ
ด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 ท่าน
• กรรมการอิสระที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติตามที่ข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
• กำหนดให้ผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัททำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งการนัดหมายการประชุม จัดเตรียมวาระการประชุมนำส่งเอกสารการประชุมและ
บันทึกรายงานการประชุม
1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน และระบบการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของ
หน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วย
งานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจของบริษัท
4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว
รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธาน
คณะกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
- ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
- ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
- รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
จากคณะกรรมการบริษัท
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความเห็นต่อการดำเนินการ ต่างๆ ของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นได้โดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
• คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องจัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควรอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง โดยมีวาระการประชุมล่วงหน้า
พร้อมเอกสารประกอบที่เพียงพอ
• ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้งอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม
• มติที่ประชุมจะกระทำโดยได้รับเสียงข้างมากของกรรมการที่มาประชุมครบองค์ประชุม
• เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม
• คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีหรือพนักงานของบริษัท ให้เข้าร่วมประชุม
เพื่อให้ข้อมูลหรือเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
• รายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่มีรายการหรือการกระทำที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะ
การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท หรือมีรายการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีการทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมี
ความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน หรือมีการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด
หลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิต รายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ
และหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
• รายงานต่อสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีรายงานที่คณะกรรมการตรวจสอบแจ้ง
ต่อคณะกรรมการบริษัทถึงสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานและมีข้อตกลงแล้วว่าต้องดำเนินการแก้ไข
แต่มีการเพิกเฉยต่อการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้เปิดช่องทางเพื่อรับแจ้งเบาะแสจากผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับรายการในงบการเงินที่ไม่เหมาะสมหรือประเด็นอื่นๆ
ผ่านทาง Email ของคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง ซึ่งจะมีการสอบสวนที่เป็นอิสระและมีการดำเนินการในการติดตาม
และมีการรายงานที่เหมาะสม
• ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี
• กรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้
• กรรมการตรวจสอบพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
- ครบกำหนดตามวาระ
- พ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท
- ลาออก
- ตาย
- ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการตรวจสอบตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง