รู้จักเรา

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

​​

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Security Policy)

บทนำ

     บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) “ บริษัท “ กำหนดให้มีนโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยรักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้อง และความพร้อมใช้งานของระบบและข้อมูลสารสนเทศของบริษัท

วัตถุประสงค์

     เพื่อให้ระบบสารสนเทศของบริษัท มีการประเมินและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีการควบคุมภายในที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัย ถูกต้องและเชื่อถือได้ ตลอดจนข้อมูลและทรัพย์สินสารสนเทศของบริษัท ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม สอดคล้องตามข้อบังคับ กฎ ระเบียบ กฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง และประกาศคำสั่งของหน่วยงานกำกับธุรกิจ

ขอบเขต

      บุคลากรของบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับนี้ และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

คำนิยาม

“ระบบสารสนเทศ” (Information Technology)

หมายถึง ระบบหรือกระบวนการประมวลผลข้อมูล โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้จัดการข้อมูล (Data) อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้สารสนเทศ(Information)ที่มีประสิทธิภาพ ในการสนับสนุนธุรกิจ

“ความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology Security)

หมายถึง การป้องกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพย์สินสารสนเทศจากการเข้าถึง ใช้ เปิดเผย ขัดขวำง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ทำให้สูญหาย ทำให้เสียหาย ถูกทำลาย หรือล่วงรู้โดยมิชอบ โดยการธำรงไว้ซึ่งความลับ(Confidentiality) ควำมถูกต้องครบถ้วน (Integrity) และสภำพพร้อมใช้งำน (Availability) ของเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพย์สินสารสนเทศ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ได้แก่ ความถูกต้องแท้จริง (Authenticity) ความรับผิดชอบ (Accountability) การห้ามปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-Repudiation) และความน่าเชื่อถือ(Reliability) รวมถึง การตอบสนองต่อภัยคุกคามและกู้คืนระบบสารสนเทศให้กลับมาเป็นปกติได้รวดเร็ว ไม่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก (Resilience)

“การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์” (Cyber Security)

หมายถึง มาตรการหรือการดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก อันกระทบต่อความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

“ภัยคุกคามทางไซเบอร์” (Cyber Threat)

หมายถึง การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้าย และส่งผลกระทบด้านการปฏิบัติงาน ต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

“โปรแกรมไม่ประสงค์ดี” (Malicious Software)

หมายถึง โปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้งานหรือระบบ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล

“โปรแกรมป้องกันไวรัส” (Antivirus Software)

หมายถึง โปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อคอยตรวจจับป้องกัน และกำจัดโปรแกรมไม่ประสงค์ดีหรือโปรแกรมคุกคามทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง ไวรัส เวิร์ม โทรจัน สปายแวร์ แอดแวร์ และซอฟต์แวร์คุกคามประเภทอื่น ๆ

ข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

     นโยบายฉบับนี้มีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีกรอบการปฏิบัติงานความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและรัดกุม ครอบคลุมถึงผู้ให้บริการภายนอกที่มีการใช้บริการ
  2. จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (Integrity) สภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของระบบสารสนเทศภายในบริษัท และความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity)
  3. จัดให้มีการบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ มีการจำแนกประเภททรัพย์สินสารสนเทศและจัดระดับชั้นความลับ มีมาตรการป้องกันระบบและข้อมูลสารสนเทศของบริษัทจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อไม่ให้เกิดข้อมูลรั่วไหล หรือการแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
  4. จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพและสภาพแวดล้อม มีมาตรการควบคุมการใช้งานของผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบ มีมาตรการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งมีแนวทางในการกำกับดูแลความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
  5. จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ มีมาตรการการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อควบคุมการรับส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ รวมถึงมีแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดหา พัฒนา และดูแลรักษาระบบสารสนเทศ
  6. จัดให้มีมาตรการป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ภัยคุกคามที่มีต่อระบบสารสนเทศ และภัยคุกคามไซเบอร์ รวมถึงมีการบริหารจัดการโปรแกรมป้องกันไวรัส การบริหารจัดการช่องโหว่ทางเทคนิค หรือการทดสอบความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  7. จัดให้มีการบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ และแผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมและสามารถรับมือภัยหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทันท่วงที
  8. จัดให้มีการสื่อสารและนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลทั่วทั้งบริษัท ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

การทบทวนนโยบาย

     บริษัททบทวนนโยบายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีสาระสำคัญ





ทบทวนล่าสุดตามมติคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566

×

ฝากข้อความไว้ให้เราติดต่อกลับ