1. กำหนดกรอบนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ประเมิน ติดตามรายงาน และควบคุมความเสี่ยงให้ครอบคลุม และรองรับกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง กฎเกณฑ์ และมาตรฐานใหม่ๆ ของภาครัฐ
2. ทบทวนความเพียงพอของนโยบายบริหารความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยง รวมถึงความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบ การปฎิบัติตามที่นโยบายกำหนด และสรุปรายงานเสนอต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงของบริษัท เพื่อช่วยให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สามารถดำเนินการต่าง ๆ ให้บรรลุและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และ/หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงเป็นกลไกในการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง ให้ครอบคลุมตามที่กฎหมายกำหนด สอดคล้องกับหลักการบริหารความของเสี่ยงองค์กรและแนวทางมาตรฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 | คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท โดยประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทที่มีคุณสมบัติและจำนวนให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจ |
2.2 | วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริษัท หรือพ้นจากตำแหน่งเมื่อ |
2.2.1 | กรรมการบริหารความเสี่ยงที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทด้วย ให้ครบวาระการดำรงตำแหน่งเป็นไปตามวาระของกรรมการบริษัท | |
2.2.2 | กรรมการบริหารความเสี่ยงที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของบริษัท จะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการบริหารความเสี่ยงที่พ้นตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทอีกได้ | |
2.2.3 | เสียชีวิต | |
2.2.4 | ลาออก | |
2.2.5 | ขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจ หรือนโยบายบริษัท | |
2.2.6 | พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริษัท หรือพนักงานบริษัท |
3.1 | กำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยงเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและอนุมัติ |
3.2 | ประเมินและติดตามความเพียงพอของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการกำหนดให้หน่วยงานดำเนินการ หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเท่าที่จำเป็น เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท หรือการมอบหมายอื่นใดที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท |
3.3 | จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละครั้ง เพื่อติดตามสถานะความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าในการบริหารความเสี่ยง และสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์ที่กำหนดตามความเหมาะสม |
3.4 | ให้รายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยรายงานต้องครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท และ/หรือจะต้องรายงานคณะกรรมการบริษัทในเวลาที่เหมาะสมทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท |
ในการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงแต่ละครั้ง องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารความเสี่ยงจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม